แบบรายงาน “วิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ”สำหรับ สถานศึกษา
ชื่อผลงาน (Best Practice)รักการอ่าน
คำสำคัญ การอ่าน
ประจำปีการศึกษา
๒๕๖๕
กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
ปลูกฝังการอ่านอย่างต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเร้าความสนใจ ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน เริ่มจากง่ายไปหายาก เริ่มจากหนังสือที่ชอบหรือสนใจนำไปสู่ความแปลกใหม่ของการเรียนรู้
สภาพทั่วไป
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อเร่งรัด ส่งเสริม และพัฒนาให้หน่วยงานในสังกัดนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยมีกลยุทธ์และจุดเน้นที่สำคัญหลายๆด้าน รวมทั้งพัฒนาการอ่านการเขียน และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ส่งเสริมให้นักเรียนช่วงชั้นที่ ๑ อ่านออกเขียนได้ ช่วงชั้นที่ ๒ เป็นต้นไป อ่านคล่องเขียนคล่อง ใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเรียนรู้สาระการเรียนรู้อื่น เพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ด้วยโรงเรียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอ่านและสอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านของนักเรียน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกต้องเป็นศูนย์ จากการทดสอบประเมินสภาพการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ของผู้บริหารและครูผู้สอนภาษาไทยในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๕ ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวน ๘๔ คนยังอ่านหนังสือไม่ออก ส่งผลทำให้การเรียนไม่ดี ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๑.
ประชุมชี้แจงให้ครูและบุคลากรเข้าใจถึงความสำคัญของการอ่าน
๒. ดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนรักการอ่าน โดยจัดให้พี่จิตอาสา(นักเรียนชั้น ป.4-๖) ช่วยสอนน้องอ่านทุกวัน เวลา 07.00 – 07.45 น. โดยจะประเมินการอ่านของนักเรียนทุกเดือน
๓. จัดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๑. เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่อง
การอ่านไม่ออกของนักเรียน
๒. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
๓. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถการอ่านของผู้เรียน
(RT)
๔. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
(NT)
๕. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง) ที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออกลดลง ร้อยละ ๘๔ ขึ้นไป
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือออก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ขั้นที่
๑ คัดกรองนักเรียน
ขั้นที่
๒ ประชุมชี้แจงและมอบหมายให้พี่จิตาสาดูแลนักเรียนที่อ่านไม่ออก/อ่านไม่คล่องอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่
๓ พี่จิตอาสาสอนน้องอ่านแบบฝึกอ่านที่คุณครูจัดทำขึ้น ทุกเช้า เวลา 07.00–07.45
น.
ขั้นที่
๔ ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
ขั้นที่
๕ จัดกิจกรรมเสริม และจัดทำสื่อ นวัตกรรมเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย-ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ
และ/หรือคุณภาพ
- นักเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออกลดลงร้อยละ ๙๖.๘ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้วส่งผลต่อโรงเรียนอย่างไร
๑.
นักเรียนได้รับรางวัลเกี่ยวกับภาษาไทย
๒.
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๖๕
มีพัฒนาการดีขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกปี
๓.
ผลการประเมินความสามารถทางการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา
๒๕๖๕ สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
๔. ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
บทเรียนที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนตามตารางสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูผู้สอนภาษาไทยไม่สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่คล่องหรือไม่ออก จะไม่กล้าแสดงออก จะไม่กล้าอ่านออกเสียงแต่เมื่อจัดพี่จิตอาสาเข้าไปประกบดูแลอย่างใกล้ชิดทุกเช้า สร้างความแปลกใหม่ให้กับนักเรียนจนทำให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านเพิ่มเติมเช่น กิจกรรมหยุดทุกงานอ่านทุกคน กิจกรรมตะกร้าแห่งปัญญา ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านการอ่านดีขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
๑.
ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย
เพื่อสนับสนุนเกี่ยวกับการอ่านให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
๒.
ครูและบุคลากรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
๓.
ครูติดตามนักเรียนและดูแลอย่างใกล้ชิด
๔. ครูใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด
กระตุ้นความสนใจของนักเรียน
๕.
กิจกรรมการเรียนรู้เริ่มจากง่ายไปหายากตามลำดับ
มีขั้นตอนการสอนที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง
๖.
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการสอนอย่างสม่ำเสมอ
๗. โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย
๘. ผู้ปกครองให้ความสำคัญและมีเวลาให้กับการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย ของบุตรหลาน
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
และ/หรือรางวัลที่ได้รับ
๑.
มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซด์ของโรงเรียน และ Facebook
๒. เด็กหญิงวรัชยา
ไชยราช ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ ๑
การแข่งขันการคัดลายมือ โครงการพัฒนากลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕
๓. นักเรียนที่มีเวลาอ่านมากกว่า
15 ชั่วโมง จำนวน 28 คน จากผลการแข่งขัน หนูน้อยรักการอ่าน ยิ่งอ่าน
ยิ่งสร้างแรงบันดาลใจ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม ทั้งหมด 94 โรงเรียน มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 3,782 คน ผ่าน 590 คน
๔. เด็กหญิงกนกพร อ่อนตา ได้ลำดับที่ 79 การแข่งขัน หนูน้อยรักการอ่าน
ยิ่งอ่าน ยิ่งสร้างแรงบันดาลใจ ในจำนวน นักเรียนที่ร่วมกิจกรรม 3,782 คน
๕. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันความสามารถทางภาษาไทย ในงานนิทรรศการวิชาการ
(เปิดบ้าน ท.ศ.ร.๖๖) วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
๖. เด็กหญิงปณิดา สถิตวิวัฒน์ และเด็กชายวธัญญู พลาศรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒
การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการ
ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ งานนิทรรศการวิชาการ ๒๕๖๕ (เปิดบ้าน ท.ศ.ร.๖๖) วันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
๗. การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน
(Reading Test : RT) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้คะแนนอ่านออกเสียง
และอ่านรู้เรื่อง เต็ม 100 คะแนน จำนวน 7 คน