ขั้นที่
1
ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน หลักสูตรและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นที่
2
สำรวจความต้องการของนักเรียน และสำรวจความพร้อม
ความสามารถของผู้ปกครองที่จะมาเป็นวิทยากร
ขั้นที่
3 แต่ละสายชั้นประชุม
วางแผนการดำเนินงาน ติดต่อ ประสานงานวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละสายชั้น
แล้วนำเสนอโครงการส่งเสริมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อผู้บริหารสถานศึกษา
ขั้นที่
4 เชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับครูและนักเรียนในชั่วโมงภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขั้นที่
๕ นักเรียนแต่ละสายชั้นลงมือปฏิบัติ
โดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่
๖ นักเรียนนำเสนอผลงาน ครูตรวจผลงานที่ได้ เผยแพร่ผลงานและจัดจำหน่ายตามความเหมาะสม
ขั้นที่
๗ สรุปและรายงานการปฏิบัติงานต่อผู้บริหารสถานศึกษา
๑. ในระดับชั้นอนุบาล (อายุ ๔-๖ ปี)
เด็กยังอยู่วัยที่ชอบสังเกตสี เรียนรู้ด้านการฝึกกล้ามเนื้อ
มือ
จึงส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการทำผ้ามัดย้อม
เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานเกิดผลสำเร็จเป็นผลงานคือผ้ามัดย้อมที่สวยงาม
2. ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการให้เพาะต้น
อ่อนทานตะวัน
ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างง่าย ใช้เวลาสั้น ๆ สามารถทำได้ด้วยตนเอง
และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3. ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการทำน้ำสมุนไพร
ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในครัวเรือนได้
4. ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการทำถั่วกรอบแก้ว
เป็นการฝึกทำอาหารว่างชนิดหนึ่ง
และสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัวได้
5. ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยการทำเกษตรพอเพียง
เป็นการฝึกนักเรียนเกิดประสบการณ์ความรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้
๖. ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการสานตะกร้า
พลาสติก
เป็นการฝึกนักเรียนให้เกิดความอดทน
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงานที่หลาก หลาย
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดชิ้นงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ที่ใส่ขวดน้ำ
ตะกร้า กระเป๋า สามารถนำไปจำหน่ายได้ และเป็นที่นิยมของท้องตลาด