สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
กระบวนการพัฒนา

การดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะในโรงเรียน

1. โรงเรียนมีการกำหนดนโยบาย การลดปริมาณขยะในโรงเรียนอย่างชัดเจน

2. ผู้บริหารแสดงวิสัยทัศน์ สื่อสารให้บุคลากรและนักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาให้เห็นความสำคัญของการลดปริมาณขยะและการดำเนินการให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดขยะอย่างยั่งยืนโดยการ

    - พูดคุยประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้บุคลากรและนักเรียน

    - แนะนำให้บุคลากรได้ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การแยกขยะ การจักการขยะโดยใช้หลัก 3 ช อย่างถูกต้อง

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้แก่บุคลากรและชุมชน เช่น การจัดป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดแหล่งเรียนรู้ การคัดแยกขยะในโรงเรียนและจัดกิจกรรมให้ความรู้กับนักเรียน ทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นประจำและต่อเนื่อง

4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังโดยโรงอาหารและร้านค้าลดและเลิกใช้ถ้วยชามโฟมใส่อาหาร แก้วพลาสติก ถุงพลาสติก เปลี่ยนมาใช้ ถ้วย จาน ชาม แก้ว ชนิดที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาล้างและใช้ได้ใหม่ และประสานขอความร่วมมือร้านค้าที่จำหน่ายอาหารให้กับนักเรียนงดการใช้ ถ้วย ชาม โฟม ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งเปลี่ยนมาใช้ ถ้วย จาน ชาม แก้ว ชนิดที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่แทน ทำให้ปริมาณขยะในแต่ละวันลดได้เป็นจำนวนมาก

5. การจัดการขยะที่ย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหารเปลือกผักผลไม้และใบไม้แห้งในโรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้   

    - เศษอาหารที่เหลือในโรงอาหารนำไปเลี้ยงปลาที่คลองวัดใต้

    - เปลือกผักผลไม้ เช่น สับปะรด ลิ้นจี่ และเปลือกผักเป็นต้น นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ และใช้น้ำหมักชีวภาพทำน้ำยาล้างจานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    - เศษอาหารละใบไม้แห้งนำไปทำปุ๋ยหมักในวงท่อซีเมนต์ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชในโครงการปลอดสารพิษของโรงเรียน

6. การจัดการขยะรีไซเคิลโรงเรียนดำเนินการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางโดยนักเรียนและบุคลากรมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และปฏิบัติจริง โดยร่วมกันคัดแยกประเภทขวดพลาสติก ในบ้านขวดของโรงเรียนและไปจำหน่ายเพิ่มมูลค่า นำไปประดิษฐ์เศษวัสดุ โมบายของเล่นนักเรียนตามความเหมาะสม

     - ขยะประเภทกระดาษต่างๆนำกลับมาใช้ใหม่เน้นกระดาษ 2 หน้าใช้ทำใบงาน กิจกรรมวาดภาพของนักเรียน เมื่อใช้ครบหน้าแล้วนำไปจำหน่ายตามโครงการตลาดนัดรีไซเคิล

7. ธนาคารขยะ โรงเรียนจัดกิจกรรมครูและนักเรียนดำเนินการการคัดแยกขยะรีไซเคิลประเภทนำกลับมาใช้ใหม่ได้แล้วนัดร้านรับซื้อประมาณภาคเรียนละ 2-3 ครั้งได้แก่ ขยะจำพวก ขวดพลาสติกใส ขวดพลาสติกขุ่น กระดาษ A4 ที่ใช้ครบหน้าแล้ว กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษลังและเศษวัสดุประเภทโลหะที่ไม่ใช้แล้วในโรงเรียน

8. โครงการเกษตรรีไซเคิล (การปลูกพืชผักสวนครัว) ในขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วโดยนักเรียนมีส่วนร่วม เน้นการลดปริมาณขยะ และเพิ่มคุณค่าตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

9. โครงการเกษตรปลอดสารพิษในเรียนที่ใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพในการบำรุงพืชและบำรุงดิน

10. โครงการปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียนนี้การแยกขยะปักชำต้นไม้เองโดยนักเรียนและบุคลากรมีส่วนร่วม การลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่นน่าอยู่ สอดคล้องกับแนวทางปลอดขยะ โดยนำเศษวัสดุของเก่าที่มีไม่ใช้แล้วของเก่านำมาปรับปรุง ซ่อมแซมทาสีใหม่ให้น่าดูน่าใช้สวยงามแระหยัด เช่นการซ่อมตู้ โต๊ะ ซุ้มแขวนไม้ ดอกไม้ประดับของโรงเรียน เป็นต้น ปรับปรุงพื้นที่ของโรงเรียนทุกจุด ทุกมุม ในโรงเรียนให้มีระเบียบสวยงามน่าอยู่อาศัย

11. การมีส่วนร่วมประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดขยะดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมต้นไม้ ห้อน้ำ การจัดเก็บขยะในโรงเรียนโดยประสานกับฝ่ายรักษาความสะอาด ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายโยธาจากสำนักงานหลวงมาดูแลพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนในเรื่องการตัดแต่งกิ่งไม้ ในการจัดเก็บขยะที่คัดแยกแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ การดูดสิ่งปฏิกูลทุกภาคเรียนจากห้องเรียนทุกภาคเรียน การดูดไขมันที่เสียจากโรงเรียนเน้นประจำทุกเรียน

     - โรงเรียนสำนักงานและวัดร่วมกันทำความสะอาดล้างพื้นจัดเก็บวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทำความสะอาดทั้งในโรงเรียนและวัดสม่ำเสมอทำให้บริเวณโรงเรียนละวัดมีความสะอาดปราศจากขยะรกรุงรัง

12. การใช้วัสดุรีไซเคิลของสำนักงานและห้องเรียนโดยใช้กล่องกระดาษใส่เอกสาร กล่องนมใส่เอกสารในโรงเรียน ขวดยาคูลท์ใส่ยาสีฟัน แปรงสีฟันในห้องเรียนนักเรียนอนุบาล

13. การรณรงค์การลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เช่น จัดกิจกรรมและให้ความรู้

      - โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมติดป้ายประชาสัมพันธ์การลดปริมาณขยะ การแยกขยะ การจัดแหล่งเรียนรู้การคัดแยกขยะและธนาคารขยะ ฯลฯ

      - การร่วมกิจกรรมรณรงค์คัดแยกขยะอันตรายกับสำนักงานเขตสวนหลวงที่เดอะไนน์ พระราม 9

      - การจัดกิจกรรมนิทรรศการ การสาธิต การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมักจากเศษผักผลไม้ ใบไม้แห้งและเศษอาหาร การปักชำต้นไม้ในขวดวัสดุรีไซเคิล การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

14. ครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการการเรียนรู้เรื่องการการจัดการขยะในโรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการจัดการขยะในโรงเรียน สร้างจิตสำนึกและเห็นคุณค่าของการดัดแยกขยะ ส่งเสริมคุณาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเป็นนิสัย และมีทักษะในการคัดแยกขยะที่มีคุณภาพ เช่นการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจานน้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชสวนครัวในขวดวัสดุรีไซเคิล เป็นต้น 


ผลจากการปฏิบัติ

  1. บุคลากรและนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  2. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี 

  3. นักเรียนมีรายได้เสริมจากการขายขยะ 

  4. สภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน สะอาด น่าอยู่ 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]