กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดําเนินงาน
โครงการโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และบริษัทเทเวศประกันภัย
จำกัด (มหาชน) โดยหัวใจหลักของโครงการโรงเรียนคุณธรรมในภาพรวม คือ
การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้
เป้าหมายของโครงการโรงเรียนคุณธรรม คือ ๑) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
และ ๒)
เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนภายใต้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด
กระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน
มีดังนี้
การดำเนินการ
๑. ประชุมคณะกรรมการวางแผนงาน
๒. ขออนุมัติโครงการ
๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๔. ดำเนินการกิจกรรมโครงการโรงเรียนคุณธรรม
โดยการบูรณาการเนื้อหากับกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(แนะแนว/โตไปไม่โกง/ต้านทุจริต) และสอดแทรกเนื้อหา เรื่องคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
เข้าไว้ในรายวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมดังนี้
- กิจกรรมห้องเรียนอริยะ
- กิจกรรมโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ
(รับผิดชอบ) วิถีมกุฏ ๔ รับ
- กิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม
โดยการบูรณาการ
๕. ประเมินผล รายงานผลโครงการ
การนิเทศ/ประเมินผล
๑. การนิเทศติดตามจากคณะกรรมการโรงเรียน
๒. การนิเทศติดตามจากคณะกรรมการจากบริษัทเทเวศประกันภัย
๓. การประเมินผลระดับโรงเรียน
การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานครในระยะเวลา
8 ปี สามารถแบ่งเป็นระยะได้ดังต่อไปนี้
องค์ความรู้
ปี ๑
(ปี ๒๕๕๘) นับเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นบ่มเพาะพฤติกรรมที่ดีงามด้วยกระบวนการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมส่งเสริมความดีที่นักเรียนคิด นักเรียนทำ
นักเรียนนำเสนอ ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการตามคุณธรรมเป้าหมาย
โดยมีกิจกรรมส่งเสริมความดี กระบวนการทบทวนความคิด และสมุดบันทึกความดี
เป็นเครื่องมือกำกับการทำกิจกรรมส่งเสริมความดี ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนอย่างสมดุล
ทำให้สามารถเห็นพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างชัดเจน
ผลการขับเคลื่อนในปีที่ ๑ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า
“รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม” ได้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
(Main Moral Model: ๓M) ๙ ขั้นตอน
ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เรียกว่า MAKUT MODEL โดยใช้องค์ความรู้ด้านมารยาท
เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
หลักสูตร “โตไปไม่โกง” ด้านรับผิดชอบ ใช้รูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางการคิดแบบมีส่วนร่วม
ที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกในด้าน ๑) รับผิดชอบต่อตนเอง ๒)
รับผิดชอบต่อบุคคล ๓) รับผิดชอบต่อโรงเรียน ๔) รับผิดชอบต่อชุมชน
มีโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ จำนวน ๔ โครงงาน ในปีแรก “มกุฏฯ
รับผิดชอบต่อหน้าที่ คุณภาพดี คือผลเชิงประจักษ์” เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนและผู้สอน
องค์ความรู้
ปี ๒
(ปี ๒๕๕๙) มุ่งเน้นไปที่การนำรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมที่ค้นพบในปีที่
๑ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างยั่งยืน
โดยคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน
ร่วมกันค้นหากระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน “คุณธรรมเป้าหมาย”
“พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก” โดยมีกิจกรรมส่งเสริมความดี กระบวนการทบทวนความคิด
และสมุดบันทึกความดี เป็นเครื่องมือกำกับการทำกิจกรรมส่งเสริมความดี
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาขีดสมรรถนะของผู้เรียนอย่างสมดุล ผลการขับเคลื่อนในปีที่
๒ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า กระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน” ได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน
(Moral
identity model) ที่เรียกว่า MAKUT DESIGN เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางการคิดแบบมีส่วนร่วม (นักเรียนคิด
ครูเสริม ผู้บริหารเติม สร้างเสริมวิถีประชาธิปไตย) และได้ดำเนินการบ่มเพาะพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกในด้านความรับผิดชอบ
ทั้ง ๔ รับ ๑) รับผิดชอบต่อตนเอง ๒) รับผิดชอบต่อบุคคล ๓) รับผิดชอบต่อโรงเรียน ๔)
รับผิดชอบต่อชุมชน ด้วยโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ อย่างต่อเนื่องในปีแรก
และเกิดโครงงานโรงเรียนคุณธรรม อีก ๔ โครงงาน รวมเป็น ๘ โครงงานโรงเรียนคุณธรรม
องค์ความรู้
ปี ๓
(ปี ๒๕๖๐) มุ่งเน้นไปที่การนำ
“รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม” และ
“กระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน” ที่ค้นพบในปีที่ ๒
มาใช้เป็นต้นทุนในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมสู่ความสมดุลอย่างยั่งยืน ผลการขับเคลื่อนในปีที่
๓ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า “ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนคุณธรรม (ต้นแบบ)
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร” ได้รูปแบบการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรม
(ต้นแบบ) เขตพระนคร (Moral learning center model)
ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในการบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน
ด้วยกระบวนการห้องเรียนอริยะ Moral Quotient Classroom (MQC) ตามหลักการพื้นฐาน “เรียนความรู้ หัดทำการงาน ทำความดี” ซึ่งแบ่งออกเป็น ๙ มุม
และผู้เรียนปฏิตามแนวทางปฏิบัติตามโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ
เกิดเป็นวิถีธรรมวิธีทางของชาวมกุฏด้วยวิถีประชาธิปไตย
องค์ความรู้
ปีที่ ๔ - ๗
(ปีการศึกษา ๒๕๖๑-๒๕๖๔) ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปีการศึกษา ๒๕๖๔ มุ่งเน้นในการบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนโดยดำเนินการและพัฒนาโครงการโรงเรียนคุณธรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแผนงาน โครงการ
กิจกรรมส่งเสริมความดีในรูปแบบต่างๆ เช่น
การจัดกิจกรรมมุมคุณธรรมด้วยกระบวนการห้องเรียนอริยะ การดำเนินงานตามโครงงานคุณธรรมทั้ง
๔ รับ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงการทำความดี
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดเป็นคุณลักษณะของผู้เรียนที่เรียกว่า ๕C MK KIDS ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ยั่งยืนที่เกิดกับผู้เรียนของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
ในปีการศึกษา
๒๕๖๔ เนื่องด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยารามได้ดำเนินการกิจกรรมของโครงการโรงเรียนคุณธรรมในรูปแบบออนไลน์
โดยการ บูรณาการเนื้อหากับกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(แนะแนว/โตไปไม่โกง/ต้านทุจริต) สอดแทรกเนื้อหา เรื่องคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
เข้าไว้ในรายวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ให้ความรู้และเผยแพร่เว็บไซต์โรงเรียนคุณธรรม
องค์ความรู้
ปีที่ ๘
(ปีการศึกษา ๒๕๖๕) ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ มุ่งเน้น ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนด้านคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา
บูรณาการกิจกรรมห้องเรียนอริยะร่วมกับ “โครงการคุณธรรมในชั้นเรียน” และ “โครงการรวมใจวัยฝัน
รังสรรค์คุณธรรม” โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิรัฐบุรุษ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และพัฒนาต่อยอดกิจกรรมวิถีมกุฏ ฯ 4 รับ (รับผิดชอบ)
นักเรียนแกนนำโรงเรียนคุณธรรม คุณครูที่ปรึกษา และผู้บริหาร ร่วมวางแผนดำเนินการคิดสร้างสรรค์โครงงานชีวิตจริงในหัวข้อโครงงานเรื่อง
“เดินงามตามแบบมกุฏฯ Models”เพื่อเข้าประกวด และมีผลงานผ่านเกณฑ์ทำให้ได้รับทุนการศึกษา
และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน เข้ามามีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อน โดยจัดโครงการเด็กดีของแผ่นดิน
(สำหรับสถานศึกษาในเขตพระนคร)
ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม
พบว่า ผลการประเมิน ๓ ส่วน ของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ๑)
ผลการประเมินอัตลักษณ์ของผู้เรียน ๒)
ผลการประเมินเอกลักษณ์ของผู้เรียน ๓) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐
สรุปได้ว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนดและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (ที่มาของข้อมูลจากแบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนประจำชั้น (ปพ.๕))
ผลความสำเร็จโครงการ/กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐
ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖๗