สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
กระบวนการพัฒนา

1 ขั้นวางแผน (P)

         1.1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลผลการจัดกิจกรรมโครงการ ในปีการศึกษา 2561 เพื่อวางแผน

         1.2 นำข้อมูลที่ได้มาเป็นพื้นฐานเพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน

         1.3 เสนอขออนุมัติโครงการ

         1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

         1.5 ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดกิจกรรม

          2 ขั้นดำเนินงาน (D)

2.1 กิจกรรมค่ายคุณธรรม

2.2 กิจกรรมสอบธรรมสนามหลวง

2.3 กิจกรรมบรรพชาสามเณร

2.4 กิจกรรมบวชเนกขัมมะ-ศีลจาริณีเฉลิมพระเกียรติ

2.5 กิจกรรมสวดมนต์วันพระ

               2.6 กิจกรรมมารยาทงามตามแบบไทย

               2.7 สมาธิสร้างปัญญา

               2.8 น้องไหว้พี่

    3 ขั้นติดตามผล (C)

3.1 ติดตามผลการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรมที่ปฏิบัติ

3.2 ประเมินโครงการ 3 ระยะได้แก่  ก่อนดำเนินกิจกรรม  ระหว่างดำเนินกิจกรรม และสิ้นสุดกิจกรรม

               3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจ

               3.4 วิเคราะห์  สรุปผล และรายงานต่อผู้บริหารโรงเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง

    4 ขั้นปรับปรุงและพัฒนา (A)

              4.1 หลังจากประเมินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว นำข้อมูลที่ได้วางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป



ผลจากการปฏิบัติ

อภิปรายผลการประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ  สำนักงานเขตมีนบุรี  กรุงเทพมหานคร

1.    ด้านการจัดสภาวะแวดล้อม (Contextได้กำหนดวิธีดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการอย่างเหมาะสมมีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เหมาะสมเนื่องจากแต่ละกิจกรรมมีคณะกรรมการดำเนินงานอย่างเพียงพอ  ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 95

2.   การจัดปัจจัย (Input) บุคลากรมีเพียงพอในการดำเนินงาน มีคณะกรรมการดำเนินงานจากบุคลากรภายในโรงเรียนและชุมชน  ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม งบประมาณดำเนินงานเพียงพอ มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้  ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 96

3.   ด้านกระบวนการ (Process) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหา(SWOT) บริบทของโรงเรียนและความต้องการในการพัฒนาตามสภาพจริง ของโครงการ/กิจกรรมตามแผนงานวิชาการ  โดยจัดทำกรอบแนวคิดแต่ละโครงการ/กิจกรรม  กำหนดจุดพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการ มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรม และปฏิบัติงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามขั้นตอน ภายใต้การกำกับ ติดตาม การนิเทศ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 97

4.      ด้านผลผลิต (Product) บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามแผนงานวิชาการ  

-  ด้านปริมาณ : ครู-บุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านศีลธรรม  สมาธิ และปัญญา ผลการประเมินโครงการ ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1  คิดเป็นร้อยละ  98  นอกจากนี้ นักเรียน ครู-บุลากรในโรงเรียนยังได้พัฒนาตนเองในการสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2562 และสอบผ่านธรรมศึกษาตรี  จำนวน 82  คน  ธรรมศึกษา โท จำนวน 130 คน  ธรรมศึกษาเอก  จำนวน 58  คน แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและตระหนักในหลักธรรมคำสอน นักเรียนมีน้ำใจมีจิตสาธารณะ ช่วยวัด ช่วยโรงเรียนในการบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญต่างๆ ด้วยความเต็มใจ และมีความสุข สามารถดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธ วิถีธรรม  ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่  2  คิดเป็นร้อยละ  95  

5.      ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการ การมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน  มีส่วนช่วยเหลือโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ตลอดจนเอาใจใส่ดูแลนักเรียนในปกครองเป็นอย่างดี    ซึ่งได้รับคำชมจากผู้ปกครองและชุมชนในการดูแลเอาใจใส่นักเรียน  ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 90

6.      ด้านผลกระทบของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  ได้แก่ โรงเรียนได้รับการยอมรับและความชื่นชมจากผู้ปกครองและชุมชน ได้รับชื่อเสียง จากหน่วยงาน ต้นสังกัด/หน่วยงานภายนอกหรือองค์กรอื่น ๆ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 98

7.      ด้านผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  ได้แก่  ต่อนักเรียน ต่อครู  ต่อโรงเรียน และต่อชุมชน ผลการประเมินอยู่ระดับมากที่สุด  ดังนี้

ต่อครู  :

1. ครู ผู้บริหารโรงเรียน ได้มีส่วนร่วมและสนับสนุนในการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธทุกกิจกรรม

ต่อนักเรียน :

1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม

2. นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้นักเรียนมีระเบียบวินัย  คุณธรรม  และจริยธรรม

3. นักเรียนได้รับการเสริมสร้างทักษะชีวิต และความเป็นพลเมืองที่ดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมอย่างมีความสุข     

ต่อโรงเรียน :    

1. โรงเรียนมีส่วนร่วมโดยมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

2. โรงเรียนได้พัฒนาบุคลากร ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาครู-บุคลากรในการจัดกิจกรรมโครงการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. โรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ต่อชุมชน :

1. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

2. ชุมชนให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนกับทางโรงเรียนส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ

 

ผลการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านการจัดสภาวะแวดล้อม (Context)  ด้านการจัดปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ด้านผลกระทบของกิจกรรม และด้านผลประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คืออยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่า การดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ผู้ดำเนินงานมีความรู้ ความสามารถ ความพร้อมในการดำเนินงาน พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ ประกอบกับทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ทุกคนให้ความเอาใจใส่ปฏิบัติภารกิจด้วยความเต็มใจส่งผลให้โครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ  คิดเป็นร้อยละ 97.25