สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
บ้านทักษะชีวิต
โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
กระบวนการพัฒนา

2.วัตถุประสงค์

          2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยการพัฒนา ทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21

2.2 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 

2.3 เพื่อปลูกฝังและพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่นักเรียน เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 

2.4 เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ 

2.5 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของผู้ที่มีส่วนได้เสีย           

 

3.กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน

          มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเชิงระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงาน รู้จักสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่ต้องการให้โรงเรียนพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข  ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ดังต่อไปนี้   เป็นขั้นตอนการดำเนินงานที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 

3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 

3.2 โครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร 

3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และ การพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งโรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ)ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ ในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการแบบสอดแทรกจึงได้ประยุกต์แนวคิดและวิธีการ จัดกิจกรรม
          การดำเนินการตามขั้นตอนที่โรงเรียนได้พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  การประเมินผลการเรียนรู้และการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถือเป็นการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศการพัฒนาทักษะชีวิต สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ได้แก่ 

การเรียนรู้แบบบูรณาการ  

ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 3.1.1 การจัดกิจกรรมค่ายธรรมศึกษา 3.1.2 การจัดกิจรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม 3.1.3 การบูรณาการแบบสอดแทรก 

3.2 โครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการทีให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิแบบพอเพียง ปลูกผักกางมุ้ง ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ เลี้ยงไก่ และเลี้ยงปลา ทำให้นักเรียนนำไปต่อยอดที่บ้าน 

3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร การนิเทศภายในของโรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ) มีการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย เพื่อให้แนวคิด และรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารและเพื่อนครู และจะจับคู่เพื่อเป็นคู่นิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ในรูปแบบการนิเทศทั้งหลาย การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร เป็นวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสังเกตการสอน ให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดบรรยากาศ ในการทำงานที่อบอุ่น จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรัก ความจริงใจ และความร่วมมือในองค์กร ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุผลตามนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน


ผลจากการปฏิบัติ

4.  ผลจากการปฏิบัติ

          4.1 จากการที่ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียน มีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิดมีกระบวนการในการทำงาน   มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตาม ในการทำงาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด    เกิดผลดีต่อหลายฝ่าย ได้แก่ วิทยากรท้องถิ่น เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนโดยตรง - ผู้ปกครองเห็นชอบ สนับสนุน และคอยติดตาม มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียนรู้ของเด็ก - ครูคอยติดตามนักเรียนโดยการไปเยี่ยมบ้าน - นักเรียนได้แสวงหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยศึกษาจากประสบการณ์ตรง - นักเรียนได้ฝึกกระบวนการทำงาน ฝึกความรับผิดชอบ มีวินัย และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้องกับมาตรฐาน ในเรื่องนักเรียนมีทักษะในการทำงานฯ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

 

5. ปัจจัยความสำเร็จ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการการพัฒนาทักษะชีวิต สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่งมีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และ มีความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้แก่

- ผู้บริหาร ซึ่งให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน กำหนดนโยบายให้มีการจัดการเรียนรู้บูรณาการไว้ชัดเจนและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง

- การพัฒนา บุคลากรของโรงเรียน โรงเรียน ได้จัดอบรมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดประชุมปฏิบัติการทางวิชาการเป็นประจำ เดือนละ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ทำให้บุคลากรมีการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมพัฒนางานและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นระบบยิ่งขึ้น งานทุกงานที่ทำได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนของโรงเรียนทำให้การพัฒนางานมีระบบมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มตามศักยภาพ

- ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดีช่วยเหลือในการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนในเรื่องแหล่งเรียนรู้ และเป็นวิทยากรแก่นักเรียน

- โรงเรียนกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคเรียน รวมทั้งการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งต้องจัดให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

6.บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ และโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของตนเองด้วยความภาคภูมิใจ นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของครู ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลต่อ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับ  ดังนี้

- นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตมีพื้นฐานในการศึกษาเพื่อนำไปต่อยอด

- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน

– ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

7. การเผยแพร่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊ค โรงเรียนตำบลขุมทอง