๖.๑
ปรึกษาแนวทางการดำเนินงานกับผู้บริหารสถานศึกษาและเสนอขออนุมัติกิจกรรม
๖.๒ ผู้บริหารและคณะครูช่วยกันติดต่อประสานงานหน่วยงานเอกชน เพื่อของบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนนักวิชาการมาให้คำแนะนำ
ความรู้ด้านการเกษตรต่าง ๆ และการดำเนินงานประชุมคณะกรรมการเพื่อร่วมกันวางแนวทางในการปฏิบัติงาน
๖.๓ ชี้แจงทำความเข้าใจกันระหว่าง
นักเรียน ผู้ปกครอง และครูงานเกษตร
๖.๔ นักเรียน-ครู
ร่วมกันวางแผนงานและพิจารณาเลือกกิจกรรม
๖.๕ เตรียมเรือนเพาะชำ กะบะชำและวัสดุต่าง ๆ
ที่ใช้ปักชำและเพาะเมล็ดพืช เตรียมแปลงปลูกหรือภาชนะปลูก เช่น กระถาง ถุงพลาสติก
ปุ๋ย เพื่อใช้ปลูกพืชต่าง ๆ เตรียมเครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับพืชและดิน
๖.๖ ดำเนินการเก็บเศษพืชต่างๆ
เศษอาหารที่เหลือทิ้งเปล่าไว้ทำปุ๋ยหมัก ทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อทำปุ๋ยพืชสด
๖.๗ นักเรียน ครูเกษตร
ร่วมปฏิบัติงานและดูแลบำรุงรักษาตามกิจกรรม ได้แก่สวนพฤกษศาสตร์และการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
การปลูกผักสวนครัวในแปลง การปลูกผักสวนครัวในภาชนะ การทำปุ๋ยอินทรีย์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คูคลองบางเชือกหนัง) จนประสบความสำเร็จ
๖.๘ เขียนป้ายชื่อกิจกรรมต่าง ๆ ป้ายชื่อพันธุ์ไม้และการขยายพันธุ์ นำไปปักประจำพืชชนิดต่าง ๆ
๖.๙ เขียนรายงานการสรุปผลเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
นักเรียนโรงเรียนบางเชือกหนัง(พูนบำเพ็ญอนุสรณ์) ร้อยละ ๗๕ ได้รับประสบการณ์ตรง ในการทำเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจพอเพียง
สิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้