สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนาทักษะการอ่าน เพื่อสร้างพื้นฐานการเรียนรู้สู่ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1
กระบวนการพัฒนา

๑. ชื่อแผนงาน การพัฒนาทักษะการอ่าน เพื่อสร้างพื้นฐานการเรียนรู้สู่ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑

๒. ชื่อเจ้าของผลงาน โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ สานักงานเขต หลักสี่

๓.ความเป็นมา

    การอ่าน เป็นเครื่องมือที่นาไปสู่ความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่าง ๆ และจะช่วยทาให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนอยากรู้ ขยายความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฉะนั้น การอ่านจึงเป็นบันไดไปสู่ความสาเร็จในอีกหลาย ๆ ด้าน การพัฒนาทักษะการอ่านให้ประสบความสาเร็จต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้านร่วมกัน กระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA เป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถพัฒนาคุณภาพการดาเนินงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ จึงนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดาเนินงานในกิจกรรมตรวจสอบและพัฒนาการอ่านเพื่อพัฒนา ด้านการอ่านของผู้เรียน ให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สาคัญในการแสวงหาความรู้ และสามารถดารงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถใช้การอ่านเป็นเครื่องมือที่สาคัญในการแสวงหาความรู้ สามารถเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประถมศึกษา จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้เป็นสาคัญ แต่จากการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมานั้นยังไม่ประสบผลสาเร็จตามคาดหวัง เห็นได้จากผลการประเมินการอ่านในปีที่ผ่าน ๆ มา ผู้เรียนในระดับประถมศึกษายังมีปัญหาในการอ่าน นาไปสู่ปัญหาการเขียนไม่ได้ ทาให้มีปัญหาในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจึงจัดทากิจกรรมตรวจสอบและพัฒนาการอ่านขึ้น

๔. การบูรณาการศาสตร์

    การตรวจและพัฒนาการอ่านเพื่อสร้างพื้นฐานในการเรียนรู้สู่การศึกษาค้นคว้าและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีคุณภาพที่ดี มีภูมิรู้ มีภูมิคุ้มกัน สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

๕. วัตถุประสงค์

    ๕.๑ เพื่อตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียน ให้นักเรียนมีความสามารถทางด้านการอ่านเพิ่มขึ้นเพื่อให้นาความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจาวันได้

    ๕.๓ สร้างความตระหนักและปลูกฝังให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา เห็นความสาคัญของการอ่านตลอดจนมีนิสัยรักการอ่าน

๖.เป้าหมาย

๖.๑ เชิงปริมาณ

    - นักเรียนในโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ จานวน ๑,๐๔๔ คน

๖.๒ เชิงคุณภาพ

    - นักเรียนมีทักษะและคุณภาพด้านการอ่าน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 (ทุกระดับชั้น ทุกรายวิชา) - นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านตลอดจนมีนิสัยรักการอ่าน

๗.ระยะเวลาดาเนินงาน

ตลอดปีการศึกษา ๒๕๖๑

๘. กิจกรรมที่ดาเนินการ

ขั้นเตรียมการ

    ๑. วิเคราะห์ผลการดาเนินโครงการในปีการศึกษา ๒๕6o เป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนา

    ๒. เสนอโครงการและอนุมัติโครงการ

    ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินงาน

    ๔. ประชุมคณะกรรมการดาเนินงาน

ขั้นปฏิบัติการ

    ๑. กิจกรรมตรวจสอบและพัฒนาการอ่าน

        ๑. ตรวจสอบการอ่านทุกเดือน

        ๒. ซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน

    ๒. กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพการอ่าน

        ๑. ตรวจสอบคุณภาพการอ่านของนักเรียนโดยผู้บริหารสถานศึกษา ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และแจ้งผลการตรวจสอบคุรภาพการอ่านให้ผู้ปกครองทราบเพื่อร่วมกันแก้ไขพัฒนา

    ๓. กิจกรรมอาขยานขับขานทานองไทย

        ๑. ตรวจสอบการอ่านทุกเดือน

    ๔. กิจกรรมหมอภาษา

        ๑. ตรวจสอบการอ่าน

        ๒. ซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน

    ๕. กิจกรรมมหัศจรรย์บันทึกรักษ์นักอ่าน

        ๑. นักเรียนบันทึกการอ่านทุกเดือน

ขั้นสรุป

    ๑. ประเมินผลการดาเนินงานหลังจากจัดกิจกรรมเสร็จสิ้นในแต่ละกิจกรรม

สรุปและรายงานผล

๙.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๙.๑ นักเรียนมีศักยภาพทางด้านทักษะการอ่านและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

    ๙.๒ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านตลอดจนมีนิสัยรักการอ่าน

๑๐.งบประมาณและรายละเอียดการใช้งบประมาณ

    ใช้งบประมาณจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานโครงการ


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดาเนินงาน

    การดาเนินงาน โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ ได้ดาเนินงานผ่านกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะกิจกรรมเด่นคือกิจกรรมตรวจสอบและพัฒนาการอ่านที่เป็นการดาเนินงานที่ครบกระบวนการตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ครู ผู้ปกกครองและตัวนักเรียน แล้วเกิดผลกับนักเรียนได้ชัดเจนที่สุด ส่งผลให้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีผลการทดสอบการอ่านดีขึ้นในทุกระดับชั้น สังเกตจากจานวนนักเรียนที่อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่องลดลง ทั้งนี้นักเรียนสามารถอ่านเขียนภาษาไทย และเรียนรู้ในวิชาอื่นๆได้ดีขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการภาคเรียนที่ 2 เพิ่มขึ้น


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]