กิจกรรม |
ปี พ.ศ 2565 |
ปี พ.ศ 2566 |
|||||
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
|
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 |
|
|
|
|
|
|
|
1. ขออนุมัติแผนฯ |
? |
|
|
|
|
|
|
2. ประชุม วางแผน. เพื่อกำหนดวันดำเนินการตามขั้น Analyze Plan Do See
Reflection and Redesign |
|
? |
|
|
|
|
|
3. ดำเนินกิจกรรม Lesson Study ในโรงเรียน ครั้งที่ 1 ,2
และ 3 ตามลำดับ |
|
? |
? |
? |
? |
|
|
4. ครูรวบรวมผลการพัฒนา ถอดบทเรียน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
จัดทำเป็นรูปเล่มคนละ 1 เล่ม/ภาคเรียน |
|
|
|
|
? |
? |
|
5.
จัดกิจกรรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนระหว่างกัน ( Symposium ) |
|
|
|
|
|
? |
|
6. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 |
|
|
|
|
|
? |
|
สิ่งที่ครูได้ปฏิบัติ
มีการปรึกษาหารือเสนอแนะซึ่งกันและกันแบบกัลยาณมิตรและนำคำแนะนำที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติใช้กระบวนการกลุ่ม และจัดกิจกรรมสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนรู้
ผลที่ได้จากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่จัดให้เด็กตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นตอนในการทำกิจกรรมของเด็กเป็นลำดับขั้นตอนมีความชัดเจน ทำให้เด็กเข้าใจในการทำกิจกรรมมากขึ้นและเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการคิด
การระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการพัฒนาบทเรียนร่วมกันในฐานะ
1 ในฐานะครูผู้สอน (Model Teacher)
1) จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2) จัดกิจกรรมให้เด็กได้ร่วมกันคิด
ร่วมกันแก้ปัญหา
3) เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นใช้กระบวนการประชาธิปไตย
2 ในฐานะครูผู้สังเกตการสอน (Buddy teacher)
1) ครูผู้จัดกิจกรรมต้องใช้กระบวนการกลุ่มให้เด็กเป็นศูนย์กลาง
2) เด็กทุกคนควรได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
3) เด็กทุกคนได้ทำกิจกรรมและฝึกการแก้ไขปัญหาการใช้กระบวนการกลุ่ม
3 ในฐานะครูผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น
1) ได้คำแนะนำที่เป็นกัลยาณมิตรเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
2) ได้ประสบการณ์ในการสอนที่หลากหลายเปิดทัศนคติเชิงบวก
3) ได้พูดคุยกันมากขึ้นและร่วมกันหาวิธีแก้ไขในการปรับพฤติกรรมของเด็ก
ผลที่เกิดกับเด็ก
1
ผลที่เกิดกับเด็ก เด็กได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
ครูคอยสังเกตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กโดยภาพรวมของห้องเรียน
กระตุ้นเด็กด้วยการถามบ่อย
ๆ เพื่อดึงความสนใจให้เด็กอยู่ในบทเรียน และหากิจกรรมใหม่ ๆ มาจัดการเรียนรู้ให้เด็ก
เพื่อให้เด็กสนใจอยากที่จะเรียนรู้
แนวทางที่ครูจะพัฒนาต่อไป
1) จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด
จุดประสงค์การเรียนรู้
2) จัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กคิด
และแก้ปัญหา
3) คำถามที่ใช้กระตุ้นด้วยการถามเด็ก
ปัญหาและอุปสรรค
1) การควบคุมห้องเรียนให้นักเรียนมีระเบียบ
2) การจัดกลุ่ม
เนื่องจากเด็กค่อยข้างจำนวนน้อย
3) นักเรียนอยากอยู่กลุ่มเพื่อนที่สนิทกัน
บันทึกบทเรียนและการปฏิบัติที่มีคุณค่า
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Symposium
กิจกรรม
PLC ทำให้ครูได้มาแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ
ระดมความคิด และหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงการสอนของตนเองและขับเคลื่อนความสำเร็จของเด็ก
ทำให้ครูมีโอกาสเรียนรู้จากกันและกันอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ การเรียนรู้จากคนอื่น
ๆ ในวง PLC ทำให้ครูสามารถไตร่ตรองถึงการปรับวิธีการสอน และปรับวิธีการปฏิบัติของตนเอง
และยิ่งในวง PLC มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายมากเท่าไหร่
ครูก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะเพิ่มคุณค่าในการทำงานของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น