1. โครงการนี้ดำเนินการโดย นางเพชรัตน์ ยอดจิตร์
1. เริ่มโครงการ พฤษภาคม 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566
2. สถานที่ดำเนินการ คือ บริเวณภายใน – ภายนอกโรงเรียน , ทางม้าลายหน้าโรงเรียน
3. ขั้นตอนการดำเนินการ
3.1 ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดทำโครงการ
3.2 เสนอโครงการและร่างคำสั่งเพื่อขออนุมัติผ่านรองผู้อำนวยการ
3.3 จัดทำรายละเอียดและกำหนดการ การดำเนินงานตามโครงการ
กิจกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่
1) กิจกรรมสัญลักษณ์ เครื่องหมายความปลอดภัย
(ผู้รับผิดชอบ นางสาวสมกิต ไชยคำภา)
2) กิจกรรมส่งนักเรียนข้ามถนนเดินทางไป – กลับโรงเรียน
(ผู้รับผิดชอบ นางเพชรัตน์ ยอดจิตร์ )
3) กิจกรรมเวรยามรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน
(ผู้รับผิดชอบ นางสายสุนีย์ จอมสังข์)
4) กิจกรรมป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน
(ผู้รับผิดชอบ นางสายสุนีย์ จอมสังข์)
5) กิจกรรมนักสำรวจความปลอดภัยรุ่นจิ๋ว
(ผู้รับผิดชอบ นางสาววัชรี วงศ์บุญ)
3.4 เบิกจ่ายงบประมาณและจัดหาวัสดุอุปกรณ์
3.5 ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ตามแผนงานที่กำหนดไว้ แก่ผู้เกี่ยวข้อง
3.6 จัดเก็บผลงานนักเรียน ภาพถ่าย เอกสารหลักฐานต่างๆ เก็บข้อมูลที่สำคัญ
เพื่อการประเมินผล
3.7 สร้างเครื่องมือวัดและประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
3.8 สรุปโครงการ ประเมินผลด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิตและ
รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ
3.9 จัดเก็บผลงานเป็นรูปเล่ม เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาผ่านรองผู้อำนวยการ
สถานศึกษาของโรงเรียน
3.10 เผยแพร่ผลงาน
จากการดำเนินการจัดกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย ทำให้โรงเรียนได้รับการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัล 4 ปีซ้อน โดยมีหัวข้อกิจกรรมดังนี้
ส่วนที่ 1 การเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์
1. มีบอร์ดหรือนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในสถานศึกษาที่ชัดเจน
2. มีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการในสถานศึกษาที่ชัดเจน
ส่วนที่ 2 สถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยที่ดี
1. มีนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษา เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการประกาศนโยบายให้เห็นชัดเจน
2.. มีแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน
3. มีบุคลากรผู้ดูแลรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน
4. มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการความปลอดภัยของสถานศึกษาที่ชัดเจน
5. มีกฎระเบียบหรือคู่มือ/แนวทางว่าด้วยความปลอดภัยในสถานศึกษาที่เหมาะสม
6. บุคลากรทุกระดับ เช่น อาจารย์ ผู้บริหาร ลูกจ้าง ได้รับการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาตามแผนงานที่กำหนด
7. มีการอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคลากรในสถานศึกษา
8. มีโครงการหรือการดำเนินการเพื่อรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในสถานศึกษาที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
9. มีการดูแล สำรวจหรือตรวจสอบความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งนำผลไปปรับปรุงแก้ไข
10. มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร เครื่องมือ (Safeguard) ในสถานศึกษาอย่าง ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ เช่น ฝาครอบใบเลื่อย ฝาครอบหัวสว่าน
11. มีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วหรือการต่อสายดินในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
12. มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา เช่น สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ถังดับเพลิง เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบและบำรุงรักษาที่ชัดเจน
13. มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน
14. มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นในสถานศึกษา
15. มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟในสถานศึกษาประจำปี
16. มีการฝึกซ้อมตามข้อ 15 โดยใช้หน่วยงานที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ฝึกสอน
17. มีห้องพยาบาล และอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานศึกษาพร้อมผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
18. มีมาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อให้กับบุคคลากรและมีการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วย หรือโรคอันเนื่องจากการทำงานในสถานศึกษา
19. มีห้องส้วม ( ที่ถ่ายอุจจาระ และที่ถ่ายปัสสาวะ ) และอ่างล้างมือสำหรับนักเรียน/นักศึกษา แยกชาย-หญิงที่พอเพียง
20. มีการจัดน้ำดื่มที่สะอาด ที่ล้างหน้าที่ถูกสุขลักษณะและพอเพียงเพื่อให้บุคลากรได้ใช้ก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม
21. มีการจัดที่รับประทานอาหารและที่พักที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะเช่น ระบบแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ ระดับความดังของเสียง
22. มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยในสถานศึกษา
23. มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับสารเคมี
24.มีการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาจากครู อาจารย์ นักเรียน/นักศึกษา และมีการนำไปปรับปรุงแก้ไข
26.มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม
27. มีหนังสือ ตำรา หรือมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และการเรียนรู้ ของบุคลากร
28. มีการดูแลเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น ระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อค
การดูแลยานพาหนะรับ-ส่งนักเรียน ใบอนุญาตขับรถ เป็นต้น สำหรับนักเรียนในสถานศึกษา
29. มีการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมดำเนินการระหว่างชุมชน ผู้ปกครองและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา
30. มีนักเรียน/นักศึกษาจัดตั้งชมรมและคณะกรรมการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา