วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาระบบและกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว
ยังสามารถสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ
ดังนั้น
จึงเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษา
ทั้งด้านบุคลากร หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน สื่อต่างๆ รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ
ในการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์มาจัดการศึกษายึดหลักสำคัญว่า
วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องลงมือปฏิบัติและเรียนรู้โดยตัวของนักเรียนเอง
ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องราวที่ครูนำมาบอกเล่าหรือเรียนจากสิ่งที่ผู้อื่นได้ทำแล้ว
กิจกรรมที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ (hands – on) โดยเฉพาะความคิดชั้นสูง
เช่น การคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ การคิดเชิงเหตุผล คิดวิเคราะห์วิจารณ์
และความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์มีความหมายมากกว่า
“วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการ” ที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้แก่การสังเกต
การลงความเห็นและการทดลองเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry)
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียน
ดังนั้นในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนวัดพระยายังได้นำวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา
และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
1.
ขั้นกำหนดปัญหา
และทำความเข้าใจถึงปัญหา
2.
ขั้นแยกปัญหา
และวางแผนแก้ปัญหา
3.
ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
4.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
5.
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อให้เปิดโอกาศให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด
การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง
หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์
จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา