การเรียนรู้ศิลปะนั้นเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ซึ่งต้องอาศัยทั้งจินตนาการ ความคิด การวิเคราะห์ ตลอดจนการสังเคราะห์เพื่อสร้างผลงานศิลปะขึ้นมา สมองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา การที่จะพัฒนาการทำงานของสมองนั้นต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้สมองทั้ง 2 ซีก กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL) โดยใช้รูปแบบ 5 ขั้นตอน การเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning ) เป็นขั้นตอนและวิธีการ
ออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่คุณครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่
1 : เตรียมความพร้อม (Warm Up) เพื่อเป็นการกระตุ้นสมอง
ตามหลักการทำงานของสมอง เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีความสุข
สมองจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งสารนี้มีความสำคัญมาก
ช่วยให้มีจิตใจที่สงบและเกิดสมาธิ ซึ่งจะแตกต่างจาก เอนดอร์ฟิน (Endorphin)
และ โดพามีน (Dopamine) ที่จะช่วยให้มีความสุขและสนุกสนาน
ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยทางโรงเรียนได้กำหนดไว้ว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวทุกชั่วโมงที่ครูเข้าสอน
ครูจะต้อง Warm Up ก่อนเสมอ โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
ขั้นตอนที่
2 : เรียนรู้ (Learning Stage) ในขั้นตอนนี้จะคำนึงถึงหลักการทำงานของสมองที่ว่า “เรียนรู้จากง่ายไปหายาก
เรียนรู้จากของจริง และจากการสัมผัส” จากการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์พบว่า
“มือ” เป็นอวัยวะที่มีประสาทสัมผัสที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
รองลงมาคือ “ปาก” นั่นก็หมายถึง
ต้องให้เด็กพูด หรือสื่อสารจะช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงเรื่องได้ ดังนั้น กิจกรรมเสริมประสบการณ์การออกแบบรูปแบบการสอน
สื่อการสอน โดยคุณครูคำนึงถึงหลักการทำงานของสมองอย่างมาก
การเรียนการสอนจึงจะประสบความสำเร็จ ในขั้นตอนที่ 2 นี้
มีขั้นตอนย่อยที่สำคัญหนึ่งคือ “การสรุปในแต่ละชั่วโมง”
ทางโรงเรียนได้สนับสนุนให้มีการฝึกอบรม
ตลอดจนหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คุณครูใช้เป็นเครื่องมือในการสรุปที่ช่วยให้เด็กเกิดความสนุก
เกิดการเรียนรู้ และจดจำได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 : ขั้นการฝึก
ขั้นนี้จะสอดคล้องกับหลักการทำงานของสมองที่ว่า “สมองจะจดจำได้ดีนำไปสู่ความจำระยะยาว (Long-term Memory) ต้องผ่านกระบวนการฝึกซ้ำๆ” คำว่า “ซ้ำๆ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การทำโจทย์เดิมซ้ำๆ
แต่หมายถึงการใช้หลักการ เช่น หลักการบวก
ก็นำไปใช้กับการบวกที่แตกต่างกันออกไปในโจทย์
คุณครูจึงจำเป็นต้องออกแบบใบงานที่แตกต่างออกไป เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนเรื่อยๆ
ขั้นตอนที่ 4 : ขั้นการสรุป ขั้นนี้เป็นการสรุปเมื่อจบบทเรียนหรือหน่วย
ซึ่งแตกต่างจากขั้นตอนที่ 2 ซึ่งเป็นการสรุปในแต่ละชั่วโมง ในขั้นตอนนี้เป็นการเชื่อมโยงความรู้ทั้งหน่วย
โดยใช้คำถาม ฝึกให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ภายในบทเรียน
สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมองที่ว่า “สมองเรียนรู้เป็นองค์รวม” ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อเด็กมาก
และเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยาก ครูเองก็จำเป็นต้องฝึกฝนบ่อยๆ เช่นกัน
ขั้นตอนที่ 5 : ขั้นการประยุกต์ใช้ทันทีทันใด การที่เด็กเรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้นั้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ถึงร้อยละ 90 ดังนั้น เมื่อจบบทเรียน คุณครูต้องคิด ต้องออกแบบ เชื่อมโยงความรู้ทั้งหน่วย นำใบงานมาให้เด็กวาดภาพ ต่อเติมจากสิ่งที่ได้รับความรู้มาต่อยอดความรู้โดยองค์รวม
?
ผลที่เกิดขึ้นกับครู
: ทำให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการทำงานของสมองเพิ่มมากขึ้น
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเอง ครูมีความสุข กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความมั่นใจและเกิดความท้าทายในการประกอบวิชาชีพครู
? ผลที่เกิดกับนักเรียน : นักเรียนมีความสุข มีสมาธิ มีวินัยมากขึ้น มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และกล้าแสดงออกมากขึ้น นอกจากนี้นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียน มีพัฒนาการทางความคิด