สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)
โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
กระบวนการพัฒนา
1. ขั้นวางแผน (Plan) 1.1 ประชุมครูเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1.3 รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดวิเคราะห์เป็น 1.4 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม 2. ดำเนินการตามแผน (Do) 2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้ 2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้ 2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในเวลาเรียนปกติ แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้ 2. เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ เครื่องมือวัดและประเมินผล ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ 3. จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาสื่อ นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม 4. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น 5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป 2.2.2 กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง โดยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมส่งเสริม การอ่าน กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมติวเตอร์ กิจกรรมท่องคำศัพท์ กิจกรรมท่องอาขยาน กิจกรรมท่องสูตรคูณ กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ กิจกรรมเขียนเรียงความ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ บ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ 3. การตรวจสอบ (Check) 3.1 ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3.2 ให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน 4. การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action) 4.1 ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ผู้บริหารทราบ 4.2 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ผลจากการปฏิบัติ
1. โรงเรียนมีผลการประเมิน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระ คือ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 2. ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET )