การวางแผน (Plan)
Step ๑ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ศึกษาสภาพปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน
และการจัดการขยะในโรงเรียนของปีการศึกษาที่ผ่านมาโดยการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา
คณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
และสภานักเรียน
Step ๒
วางแผนกรอบการดำเนินการ นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหามาประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา
คณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
และสภานักเรียน เพื่อวางแผนกรอบการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน
และการจัดการขยะ
Step ๓ ทำความเข้าใจในสภาพปัจจุบัน
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายศึกษาข้อมูล
สถานการณ์ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน
และการจัดการขยะของโรงเรียน
Step ๔ กำหนดเป้าหมายโครงการ/กิจกรรม ผู้บริหารสถานศึกษา
คณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
และสภานักเรียนประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดโครงการ/กิจกรรมเพื่อดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะ
บรรจุลงในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
Step ๕ วิเคราะห์และตัดสินใจและวางแผนงาน
นำโครงการ/กิจกรรมเพื่อดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะ
บรรจุลงในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
และมอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม
การลงมือปฏิบัติ (Do)
Step ๖ ลงมือปฏิบัติตามแผนโดยใช้ “KAJA Model”
K = Knowledge (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
คณะครู
บุคลากรไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะกับโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงาน
และนำความรู้ที่ได้รับมาขยายผลต่อเพื่อนครู บุคลากร นักเรียนและชุมชนต่อไป
A = Application (การปฏิบัติประยุกต์ใช้)
คณะครู
บุคลากร และนักเรียนลงมือปฏิบัติโครงการ/กิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้ตลอดปีการศึกษา
J = Join (ร่วมมือ
ร่วมแรง) ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร
คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน
และผู้ปกครองทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
A = Attempt (ความพยายาม) เมื่อพบปัญหาอุปสรรคนำปัญหามาประชุมปรึกษา ร่วมกันวางแผนพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
การตรวจสอบ (Check)
Step ๗ ประเมินผล ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและให้คำแนะนำข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
การสะท้อนผล (Act)
Step ๘ ทบทวน ประชุมปรึกษาปัญหาอุปสรรค
ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง
พัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
๑. นักเรียน
ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะนำขยะรีไซเคิลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
๒. นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้โดยบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๓. นักเรียนทุกคนนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลต่อครอบครัว ชุมชนต่อไป
๔. โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
ได้รับการรับรองมาตรฐานความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
(Clean and Green Standard) จากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
๕.ได้รับเกียรติบัตรในการเข้าร่วมโครงการการให้ความรู้และคัดแยกขยะพิษ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้โครงการต่อเนื่อง LOVE WORLD LESS WASTE จากมูลนิธิไทยรวมใจ
๖. ได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมประกวดต้นแบบ
“โรงเรียนสีเขียว สู่กรุงเทพฯ เมืองคาร์บอนต่ำ” จากกรุงเทพมหานคร
๗. ได้เข้าร่วมโครงการ
Ricoh R-cademy ปีการศึกษา ๒๕๖๒