1. วางแผนในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน (Plan)
1.1 ประชุมครู พี่เลี้ยง และศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เกณฑ์และกรอบมาตรฐานการศึกษา และผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา
1.2 ครูและพี่เลี้ยงศึกษารูปแบบ วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ CCE เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์ สร้างสื่อเพื่อใช้ในการสอน และจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีสีสันสดใส สวยงาม สะอาด บรรยากาศอบอุ่น โดยมีการจัดมุมแสดงผลงานของเด็กทุกคน มุมส่งเสริมการทำกิจกรรม เช่น มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมบล็อก มุมดนตรี มุมเกมการศึกษา มุมวิทยาศาสตร์ และมุมหนังสือนิทาน เป็นต้น
- รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดกระบวนการเรียนสามขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น การถามคำถามกระตุ้นความคิด การแสดงบทบาทสมมุติ การทดลอง การประกอบอาหาร การอภิปราย การสาธิต การบรรยาย และการเล่านิทาน เป็นต้น เด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมทุกกิจกรรมจะเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม เด็กได้เลือกและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง ส่วนครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็ก
- การจัดทำและหาสื่อประกอบการสอนที่หลากหลายรูปแบบ สอดคล้องกับแผนการ
จัดประสบการณ์ และเหมาะสมกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เช่น ใบงาน ชิ้นงานที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CCE)
1.4 วิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนเพื่อเลือกใช้รูปแบบและสื่อในการจัดการเรียนการสอน และวางแผนในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
2. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Do)
2.1 นิเทศการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CCE) และประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรม โดยใน 1 ปีการศึกษา ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4 ครั้ง ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมและสะท้อนผลการสอนของครู
2.2 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เป็นการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ประกอบด้วย การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็กขณะที่ทำกิจกรรม การสนทนา พูดคุย สัมภาษณ์เด็กเป็นรายบุคคล การรวบรวมผลงาน เก็บเป็นแฟ้มผลงาน และการประเมินการเจริญเติบโต การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
3. สรุปผลการจัดการเรียนการสอน (Check)
3.1 สรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และนำผลการประเมินรายงานให้ผู้ปกครองเด็กทราบ นำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาเด็กต่อไป
3.2 ผลการวิจัยในชั้นเรียนของครูประจำชั้น ครูสรุปผลการพัฒนาเด็ก
4. ปรับปรุงแผนการสอน (Action)
4.1 ครูสรุปผลการจัดการเรียนการสอน นำผลการจัดการเรียนการสอนและนำผลการประเมินพัฒนาการของเด็กมาปรับปรุงและพัฒนาในภาคการศึกษาต่อไป