วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practices)
วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนได้รับการจัดการความรู้ (KM) ด้วยการจัดกิจกรรมเล่าสู่กันฟัง โดยคณะครูได้กำหนดหัวข้อความสำเร็จ (Knowledge Vision – KV) เรื่อง “วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น” ดังตัวอย่าง เรื่องเล่าต่อไปนี้ ครูชาย เล่าถึงความสนใจของนักเรียนที่กระตือรือร้นตั้งใจเรียนมากเป็นพิเศษ บางคนสนใจขอเรียนซ้ำย้ำทบทวนหลายครั้งจนจำแม่นขึ้นใจ เมื่อครูชายใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Perfect Progressive Tense และเรียกร้องให้ครูสอน Tense อื่นๆ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เช่นนี้อีก
ครูหญิง เล่าว่า “พบปัญหานักเรียนเบื่อหน่าย ไม่ชอบเรียนหลักภาษาไทย จึงหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการขอความร่วมมือจากเพื่อนครู
ซึ่งเก่งคอมพิวเตอร์มาก มาช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เรื่องชนิดของคำ ด้วยโปรแกรม Authorware ปรากฏว่า นักเรียนเกิดความสนใจและตั้งใจเรียนอย่างมาก
จนสามารถทำข้อสอบวิชาหลักภาษาซึ่งใครๆก็ว่ายากอย่างยิ่ง ได้คะแนนเกือบเต็มทุกคน”
การจัดการความรู้ครั้งนี้
ประเด็นสำคัญที่พบคือ ประโยชน์ของสื่อ ICT
ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
การมีความรู้ความเข้าใจที่คงทนในเนื้อหาที่เรียน
สามารถเรียนรู้ซ้ำเป็นรายบุคคลได้ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดีขึ้น
อะไรคือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(What?)
วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของระบบการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดบางปะกอก
คือ “การใช้สื่อICT
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๘ กลุ่มสาระ
ในการสอบ O – Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖”
วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศทำอย่างไร
(How?)
วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice) “การใช้สื่อ ICT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระ ในการสอบ O –
Net ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ” ของโรงเรียนวัดบางปะกอก
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. ขั้นเตรียมความพร้อม
๑) เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์
โรงเรียนวัดบางปะกอกมีห้องเรียน ICT เพื่อการเรียนรู้ จำนวน ๓ ห้อง เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้รับความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อ
ICT อย่างเต็มที่
๒) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
เนื่องจากทางโรงเรียนได้ส่งครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สาระต่างๆ
ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ เข้ารับการศึกษาอบรมการผลิตและ
การใช้สื่อ
ICT อย่างต่อเนื่อง จากสำนักการศึกษา
จนครูมีทักษะการผลิตและการใช้สื่อ
สามารถนำมาขยายผลแก่ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนได้
๒. ขั้นการพัฒนาและใช้สื่อ ICT
เมื่อครูพบ ปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
และจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สื่อ ICT
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นนั้น การพัฒนาและใช้สื่อ ICT
มีลำดับขั้นตอนดังนี้ ๑) ออกแบบบทเรียน
เนื้อหาและแบบทดสอบ
๒)
ผลิตสื่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น Authroware , PowerPoint เป็นต้น ๓)
ประเมินคุณภาพของสื่อ ICT ด้วยการใช้แบบประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกระทรวงศึกษาธิการ
นำมาปรับปรุงประเด็นข้อคำถามบางข้อให้มีข้อความที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของวิชาที่จัดทำ ๔)
นำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
๕) หาประสิทธิภาพของสื่อ
ICT ที่นำมาใช้โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละของแบบทดสอบระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
(หาค่า E1/E2)
๓.
ขั้นสรุปผล รายงาน
เมื่อครูใช้สื่อ ICT
ในการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้น ต้องจัดทำบันทึกผลการจัดการเรียนรู้แล้วสรุปผล
รายงานต่อหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ
และผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนำผลที่ได้ไปประเมินการพัฒนางานต่อไป
จากผลการดำเนินงานดังกล่าว โรงเรียนมีการประเมินทบทวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการประเมินทบทวน ดังนี้
๑) ด้านครู
ตารางที่ ๑ แสดงผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ และในปีการศึกษา ๒๕๖๑
ด้านกระบวนการในขั้นตอน
การวิเคราะห์ผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนตามตัวชี้วัดสำคัญ
ดังต่อไปนี้
ที่ |
ตัวชี้วัดสำคัญ |
ผลการประเมินทบทวน |
เป้าหมาย ปี ๒๕๖๒ |
|
๒๕๖๐ |
๒๕๖๑ |
|||
๑ |
ร้อยละของครูนำโปรแกรมการวิเคราะห์แบบแผนการเรียนรู้
(Leaning Style)
มาใช้ประกอบในขั้นตอนวิเคราะห์ผู้เรียน |
๖๐ |
๘๕ |
๑๐๐ |
๒ |
ร้อยละของครู นำสื่อ ICT มาใช้การจัดการเรียนการสอน |
๗๐ |
๘๕ |
๑๐๐ |
๓ |
ร้อยละของครู ผลิตสื่อ ICT เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน |
๖๐ |
๘๐ |
๙๐ |
๒) ด้านนักเรียน
ตารางที่ ๒ แสดงผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ และในปีการศึกษา ๒๕๖๑
ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ที่ | ผลการประเมินทบทวน | ||
๑ | ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยในระดับดี (ระดับ ๓.๐๐ – ๔.๐๐) | ๓๒.๗๑ | ๓๘.๙๗ |
๒ | ร้อยละของนักเรียนที่ผลการเรียน 0 | ๗.๘๑ | ๔.๕๒ |
โรงเรียนวัดบางปะกอกมีการใช้สื่อ ICT เพื่อการพัฒนาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระ ในการสอบ O –
Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
ทั้งยังทำให้เป็นคนทันสมัยพร้อมก้าวทันเทคโนโลยีในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ ไปพร้อมๆกัน ซึ่งทางโรงเรียนได้คัดสรรครูที่มีความรู้
ความสามารถด้านเนื้อหาวิชา ตรงตามตัวชี้วัด และมีจิตวิทยากับนักเรียนในวัยนี้ทำการระดมสมองช่วยกันเลือกเนื้อหาที่เห็นว่าเหมาะสมกับนักเรียนและง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียน
ครูที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อ ICT ก็จะคัดเลือกสื่อ ICT ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของนักเรียน
เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข
ซึ่งทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินได้
และรับรางวัลโล่เกียรติคุณ
ในฐานะที่เป็นโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยผลการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O -
Net) สูงกว่าระดับประเทศทุกวิชาต่อเนื่อง ๔ ปี คือปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๖๑