สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยทรงตระหนักดีว่าเด็ก และเยาวชนได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว
มีการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต ทั้งการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรม การกินไม่เหมาะสม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรด เกล้าให้จัดนำโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็ก และเยาวชน เพื่อคุณภาพที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กในการพัฒนาภาวะโภชนาการที่ดีและเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาสู่ชุมชนสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้น้อมรับกระแสพระราชดำริของ สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีร่วมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร เพื่อการเรียนรู้และนำเข้าโครงการอาหารกลางวันที่มีคุณค่า
ทางทางโภชนาการ สะอาดปลอดภัย สร้างเสริมความรู้ ทักษะ เพื่อพัฒนา พฤติกรรมการกินและการตัดสินในการ เลือกซื้อ มีการออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม ตลอดจนการทำงานเป็นกลุ่ม ในด้านสหกรณ์และ การออม ก่อให้เกิดทักษะชีวิตเพื่อวิถีชีวิตที่ดีอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้โรงเรียนวัดสีชมพู จึงได้จัดทำ โครงการนี้ขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี และกรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเกษตรเพื่อการเรียนรู้และสร้างสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อให้โรงเรียนสามารถบริการอาหารกลางวัน ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดปลอดภัย และเฝ้า
ระวังทางโภชนาการ
สุขาภิบาล
3. เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะในการกินและตัดสินใจเลือกซื้อที่เหมาะสม
4. เพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อส่งเสริมศักยภาพการทำงานเป็นกลุ่มด้านสหกรณ์ การออม
เพื่อวิถีชีวิตที่พอเพียงให้นักเรียน
6. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการบูรณาการในทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย
1.ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนวัดสีชมพู จำนวน 137 คน
2.ด้านคุณภาพ
1.
นักเรียนได้รับการเสริมสร้างศักยภาพภาวะโภชนาการที่ดี
2.
โรงเรียนได้รับการเสริมสร้างศักยภาพให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาการของชุมชน
โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็น 4 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
3. กิจกรรมการจัดบริการอาหารและสุขาภิบาลในโรงเรียน
4. กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ
ระยะเวลาดำเนินการ 14 มิถุนายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
งบประมาณ 42,500 บาท แบ่งให้กิจกรรม 4 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้ งบประมาณ 10,000 บาท
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน งบประมาณ 22,000 บาท
3. กิจกรรมการจัดบริการอาหารและสุขาภิบาลในโรงเรียน งบประมาณ 500 บาท
4. กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ งบประมาณ 10,000 บาท
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร เลี้ยงปลา ปลูกผัก
สวนครัวรับประทานโดยวิธีธรรมชาติ รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ฝึกปฏิบัติ
การปลูกผัก การ
ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การนำผลผลิตที่ได้มาจัดบริการอาหารของโรงเรียน
การจัดจำหน่าย และการจัดทำ
บัญชี และขยายสู่ครัวเรือนและชุมชุม
กิจกรรมสนับสนุน
1.1 กิจกรรมเลี้ยงปลาดุกพระราชทานเพื่อการเรียนรู้
1.2 กิจกรรมปลูกเห็ดนางฟ้าพระราชทาน
1.3 กิจกรรมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านสหกรณ์ รู้จักการทำงาน
ร่วมกัน มีสิทธิตามหลักประชาธิปไตย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ และตรง
ต่อเวลา นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการซื้อ - ขาย สินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก และเน้นให้นักเรียนรู้จักการ ประหยัด อดออมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการรู้จักการออมเงินเพื่ออนาคตและการสร้างรายได้ กิจกรรมสนับสนุน
2.1 กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า
2.2 กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์
2.3 กิจกรรมสหกรณ์ส่งเสริมการผลิต
3. กิจกรรมการจัดบริการอาหารและสุขาภิบาลในโรงเรียน
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการอาหารเช้าอาหารกลางวันที่ได้คุณภาพ
ทั้งคุณค่า ทางโภชนาการ ความสะอาดและปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และจัดบริการอาหารเสริม
(นม) ให้อย่างเหมาะสม เพื่อให้นักเรียน มีภาวะโภชนาการที่ดี
มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
ลดความเสี่ยงในการประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ในนักเรียน
และมีความพร้อมในการ เรียนรู้
กิจกรรมสนับสนุน
3.1 จัดรายการอาหารเช้า อาหารกลางวันที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดและปลอดภัยถูกตาม หลักโภชนาการ
3.2 จัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนทุกคน
3.3 จัดบริการอาหารเสริม (นม) ให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 จนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดีสมส่วนทั้งน้ำหนักและส่วนสูง
มี
พัฒนาการทางสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสมองเจริญเติบโตสมวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการระวังรักษาสุขภาพ
ร่างกายของตนเองโดยการออกกำลังกายและมีสถิติเด็กอ้วนลดลง
กิจกรรมที่สนับสนุน
1. จัดให้มีอาหารกลางวัน ในลักษณะที่เด็กได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ครบทุกคน โดย
พืชผักส่วนหนึ่งได้มาจากโครงการเกษตรปลอดสารพิษของโรงเรียน
2. จัดให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมในตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ทุกวันครบทุกคน
3. มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นประจำ ทุก
เดือนและรายงานผลไปยังสำนักงานโครงการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
จำนวน 2 ครั้งใน
หนึ่งปีการศึกษา คือ ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 15 กรกฏาคม 2564 ครั้งที่
2 ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2565
4. จัดให้มีการออกกำลังกายในตอนเช้าหน้าเสาธงด้วยท่ากายบริหารแบบแอโรบิค สลับการท่ากาย บริหาร
ที่เน้นการหายใจเข้า – ออก อย่างถูกวิธี ทุกวัน และในวัน SPORT DAY ( ทุกวันพุธ ) ตลอดจนการจัดกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะอ้วนโดยการให้ออกกำลังกายเป็นโปรแกรม โดยจัดโปรแกรมให้เด็กที่มีภาวะอ้วน ได้วิ่ง
รอบสนามดังนี้ 5. เด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน วิ่ง และเล่นกิจกรรมเสริม เล่นห่วงฮูล่าฮูบในเวลาพักกลางวันและใน วันพุธที่ เป็นวัน SPORT DAY
สถานศึกษาสามารถจัดการเกษตรเพื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม บริการอาหารกลางวัน ที่มีคุณภาพปลอดภัย พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และบูรณาการได้ทุกกิจกรรมตามพระราชดำริ ซึ่งการดำเนินดังกล่าวส่งผลต่อนักเรียนเป็นอย่างสูง
ส่งผลต่อนักเรียน
1. นักเรียนสนุกสนานในการเรียนรู้
2. นักเรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น
3. นักเรียนมีความสามัคคี และทำงานเป็นทีมได้
4. นักเรียนช่วยเหลือกันและกันในกลุ่ม
5. นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้
6. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
ส่งผลต่อครู
1. ครูสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ครูจัดกิจกรรมการสอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
3. ครูช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
4. ครูมีความเชื่อมั่นในการสอนมากขึ้น
ส่งผลต่อสถานศึกษา
สถานศึกษา มีการจัดระบบการดำเนินการให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยที่
กิจกรรมเกษตรในสถานศึกษาเป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาใช้เป็นช่องทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร และสนับสนุนผลผลิตที่ได้รับจากการทำการเกษตรในสถานศึกษาไปสู่กิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน เพื่อ
พัฒนาให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดีและเมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรที่มี ปริมาณมากพอ ทางสถานศึกษาได้นำผลผลิตทางเกษตรไปสู่กระบวนการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์ในสถานศึกษา โดย มี การฝึกปฏิบัติการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตจากงานด้านการส่งเสริมอาชีพ และสินค้าแปรรูปทางการ
เกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ร้านค้า