สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนดี วิถีอิสลาม
โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

๓. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทำเป็น FLOW

 

ปัญหา

ศึกษาสภาพปัญหา

แนวทางแก้ไขปัญหา

ดำเนินการ

ประเมินผล

สรุป

 

           ปัญหา

๑. ขาดการส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา

2. ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง


 

          ศึกษาสภาพปัญหา

            จากการศึกษาสภาพปัญหา พบสาเหตุของปัญหาดังนี้

            ๑. ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา

2. ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม

 

            แนวทางแก้ปัญหา

๑. นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อผู้บริหารสถานศึกษา

๒. ประชุมคณะครูและบุคลากรเพื่อวางแผนงาน

3. กำหนดวันเวลาในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ และผู้รับผิดชอบ

4. ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน

5. ประเมินผลและสรุปผลการกิจกรรมต่าง ๆ

6. รวบรวมปัญหาและวางแผนเพื่อแก้ไขต่อไป

 

          การดำเนินการ

แนวทางการฝึกทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน โดยใช้หลักการของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

            ๑. ให้ผู้เรียนกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นประจำทุกวัน

            ๒. จัดกิจกรรมอบรมจริยธรรมประจำวัน

            3. ให้ผู้เรียนอ่านทบทวนคัมภีร์ อัลกุร-อาน เป็นประจำทุกวัน

            4. จัดกิจกรรมละหมาดให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น โดยมีครูเป็นผู้ควบคุมดูแล

            5. จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ

            6. จัดกิจกรรมค่ายคุณธรรมนำชีวิต

            7. สนับสนุนให้ผู้เรียนถือศิล-อด ในเดือนรอมฏอน

            8. สนับสนุนให้ผู้เรียนแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม

            9. จัดกิจกรรมของหายได้คืน

            1๐. จัดกิจกรรมปันน้ำใจเพื่อคลายทุกข์

            11. จัดทำโครงการโรงเรียนธนาคาร (อิสลาม) หนองจอกพิทยานุสรณ์

            ๑๒. ส่งเสริมให้นักเรียนรักษาความสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการอาบน้ำละหมาด

            ๑๓. ส่งเสริมให้นักเรียนรักษาเวลา ด้วยการร่วมปฏิบัติศาสนกิจอย่างพร้อมเพรียงกัน

ฯลฯ


 

          ประเมินผล

- สังเกตจากพฤติกรรมการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามวิถีอิสลาม

- สอบถามจากผู้ปกครอง

 

          สรุป

ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและมีทักษะชีวิตตามหลักศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


          ปัญหา

๑. ขาดการส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา

2. ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง


 

          ศึกษาสภาพปัญหา

            จากการศึกษาสภาพปัญหา พบสาเหตุของปัญหาดังนี้

            ๑. ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา

2. ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม

 

            แนวทางแก้ปัญหา

๑. นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อผู้บริหารสถานศึกษา

๒. ประชุมคณะครูและบุคลากรเพื่อวางแผนงาน

3. กำหนดวันเวลาในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ และผู้รับผิดชอบ

4. ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน

5. ประเมินผลและสรุปผลการกิจกรรมต่าง ๆ

6. รวบรวมปัญหาและวางแผนเพื่อแก้ไขต่อไป

 

          การดำเนินการ

แนวทางการฝึกทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน โดยใช้หลักการของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

            ๑. ให้ผู้เรียนกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นประจำทุกวัน

            ๒. จัดกิจกรรมอบรมจริยธรรมประจำวัน

            3. ให้ผู้เรียนอ่านทบทวนคัมภีร์ อัลกุร-อาน เป็นประจำทุกวัน

            4. จัดกิจกรรมละหมาดให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น โดยมีครูเป็นผู้ควบคุมดูแล

            5. จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ

            6. จัดกิจกรรมค่ายคุณธรรมนำชีวิต

            7. สนับสนุนให้ผู้เรียนถือศิล-อด ในเดือนรอมฏอน

            8. สนับสนุนให้ผู้เรียนแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม

            9. จัดกิจกรรมของหายได้คืน

            1๐. จัดกิจกรรมปันน้ำใจเพื่อคลายทุกข์

            11. จัดทำโครงการโรงเรียนธนาคาร (อิสลาม) หนองจอกพิทยานุสรณ์

            ๑๒. ส่งเสริมให้นักเรียนรักษาความสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการอาบน้ำละหมาด

            ๑๓. ส่งเสริมให้นักเรียนรักษาเวลา ด้วยการร่วมปฏิบัติศาสนกิจอย่างพร้อมเพรียงกัน

ฯลฯ


 

          ประเมินผล

- สังเกตจากพฤติกรรมการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามวิถีอิสลาม

- สอบถามจากผู้ปกครอง

 

          สรุป

ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและมีทักษะชีวิตตามหลักศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง

 

 



ผลจากการปฏิบัติ

๔. ผลการดำเนินการ

            จากการส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามในโรงเรียน ผลปรากฏว่า ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามวิถีของอิสลาม กล่าวคือ ผู้เรียนกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นประจำทุกวันเพื่อขัดเกลาจิตใจของตนเอง อ่านและท่องจำคัมภีร์อัลกุร-อ่านเพื่อฝึกสติและสมาธิ มีนิสัยรักษาความสะอาดด้วยการอาบน้ำละหมาดเพื่อชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนที่จะปฏิบัติละหมาดทุกครั้ง มีวินัยในตนเองและรู้จักรักษาเวลา เช่น ปฏิบัติละหมาดด้วยความตั้งใจ ละหมาดในเวลากำหนด เป็นต้น และในช่วงเดือนรอมฏอน ผู้เรียนได้ฝึกถือศิล-อด ซึ่งเป็นการฝึกความอดทน เป็นการปรับสภาพร่างกายและ ฝึกจิตใจให้มีความอ่อนโยน ผู้เรียนมีเมตตาและรู้จักการเป็นผู้ให้ในการร่วมกิจกรรมปันน้ำใจเพื่อคลายทุกข์ มีนิสัยประหยัดอดออม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฝากเงินกับโรงเรียนธนาคาร (อิสลาม) หนองจอกพิทยานุสรณ์ที่ปราศจากดอกเบี้ย ตระหนักและให้ความสำคัญกับการแต่งกายที่ถูกต้อง งดงามตามหลักศาสนาอิสลาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จากการฝึกทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนโดยใช้หลักการของศาสนาอิสลามนั้น ทำให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศตามแนวคิด โรงเรียนดี วิถีอิสลาม จึงส่งผลให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มมากขึ้น

 

            ประโยชน์ที่ได้รับ

๑. ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามวิถีอิสลาม

๒. ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น

๓. ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง

๔. ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม

๕. ผู้เรียนมีความเมตตากรุณา มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม  


 

๕. ปัจจัยความสำเร็จ

            ปัจจัยที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานสำเร็จ มีดังนี้

            ๕.๑ การปฏิบัติงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA)

                  w การวางแผน (Plan) ฝ่ายบริหารมีการจัดประชุมครูเพื่อวางแผน ปรึกษาและมอบหมายงานต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายไปจัดเตรียมงานให้พร้อมก่อนดำเนินการ

                  w การปฏิบัติตามแผน (Do) ผู้รับมอบหมายงานปฏิบัติงานตามคำสั่งอย่างเต็มกำลังความสามารถ ตามขั้นตอนการทำงาน เป้าหมายคือผลงานทุกอย่างมีคุณภาพ

w การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ หากพบปัญหาหรืออุปสรรคที่ส่งผลให้งานไม่บรรลุตามเป้าหมาย  จะรีบแก้ไขให้ทันเหตุการณ์ งานใดบกพร่องต้องรีบปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว

w การปรับปรุงแก้ไข (Act) เมื่องานเสร็จสิ้น ก็จะประชุมครูเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน     เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

            ๕.๒ การสนับสนุนจากชุมชน

คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนและมูลนิธิอัล-ฮุดา มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) นี้เป็นอย่างมาก เพราะจุดเด่นของชุมชนนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การปฏิบัติตนตามวิถีอิสลาม ซึ่งสถานศึกษาปฏิบัติงานที่เป็นเลิศภายใต้แนวคิดโรงเรียนดี วิถีอิสลามถือเป็นสิ่งที่ชุมชนพึงพอใจมากที่สุด

            ๕.๓ การสนับสนุนจากวิทยากร

            สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนจากวิทยากรภายนอก เช่น วิทยากรอิสลามศึกษา ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลาม

 

๖. บทเรียนที่ได้รับ

๑. การส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้อย่างถูกต้อง ทำให้สถานศึกษาโดดเด่นในเรื่องการดำเนินชีวิตตามวิถีอิสลาม เรียนรู่คู่คุณธรรม จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก

๒. การดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ คณะผู้บริหารกำหนดแผนงานร่วมกับคณะครู ครูนำไปปฏิบัติตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย มีการตรวจสอบเพื่อค้นหาปัญหาและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม มีการวางแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

 

๗. การเผยแพร่ การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ

            ๑. เผยแพร่ผลงาน เรื่อง โรงเรียนดี วิถีอิสลามในเครือข่ายโรงเรียนที่ ๔๕

            ๒. ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี