1. กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 มาตรา 10 ที่ระบุว่า
การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มาตรา 22 ระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า
ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ จากหลักการสำคัญดังกล่าวครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้รับความนิยมและกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาทางวิชาชีพที่ประสบผลสำเร็จในประเทศต่าง
ๆ คือ Professional Learning Community (PLC) ซึ่งเป็นการรวมใจ
รวมพลังความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และองค์กรทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากผลการวิจัยที่ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional
Learning Community) หรือ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”
ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ
ซึ่งแนวคิดของการอบรม PLC คือ การนำคนมาอยู่รวมกัน
เกิดการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้กัน ระหว่างสมาชิกในองค์กร
นำไปสู่การสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียน
โรงเรียนเสนานิคมตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และมีความมุ่งหมายที่จะใช้กระบวนการ PLC ในการขับเคลื่อนการพัฒนาครูสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียน จึงได้ดำเนินโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในปีการศึกษา 2561
สภาพทั่วไป
โรงเรียนเสนานิคม จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาล ถึง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,216 คน ครู 62 คน ผู้บริหาร 3 คน จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 พบว่า โรงเรียนเสนานิคม มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ และต่ำกว่าระดับสังกัด อยู่บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งผลดังกล่าวข้างต้นทำให้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองจึงร่วมกันวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกำหนดโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรในการเตรียมการและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความพร้อมรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)
ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ของคณะผู้บริหาร ครูและนักเรียนในโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพในด้านการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้ร่วมกัน นําสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้การใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้ผลสะท้อนกลับจากครูผู้สอนเพื่อทำให้ครูมองเห็นสิ่งที่ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพครู และบุคลากรโรงเรียนเสนานิคมให้การจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
Learning Community; PLC)
2.
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ O-NET
ของนักเรียน
โรงเรียนเสนานิคมให้สูงขึ้น
3.
เพื่อจัดกระบวนการ การจัดการความรู้ด้านการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
ครู และบุคลากรทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องอันจะก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน (Professional Learning Community; PLC)
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
- ครูและบุคลากรร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ด้านคุณภาพ
- ครูมีความรู้และสามารถพัฒนาทักษะการประเมินตนเอง
และการร่วมมือแบบรวมพลังของครูทุกคนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
- ครูสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ของนักเรียนโรงเรียนเสนานิคมให้สูงขึ้น
2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา
Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๑. กิจกรรมนี้ดำเนินงานโดยงานบริหารวิชาการ
โดยได้รับความร่วมมือจากครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน
2.
ระยะเวลาการดำเนินงาน
- ตลอดปีการศึกษา
2561
3. ขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
๑. ประชุมปรึกษาหารือ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดในการดำเนินโครงการ
๒. เสนอขออนุมัติโครงการและจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๓. นำคณะครูและบุคลากรเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ณ มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ ระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2561
๔. จัดทำแผนและปฏิทิน Lesson Study For Learning Community (LSLC) : วงจรที่ 1 - 3
Coaching and Mentoring
ครั้งที่ 1 - 3
๕. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
6. ครูและบุคลากรดำเนินกิจกรรมตามแผน โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPS และดำเนินกิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
3 ขั้นตอน ได้แก่ PLAN DO และ SEE
โดยการสนับสนุนจากวิทยากร อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมงานจากโรงเรียนสาธิตพัฒนา
7. ผู้บริหารสถานศึกษาประสานงานเพื่อกำกับ
ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
8.
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผลการดำเนินงานรายงานต่อผู้บริหารสถานศึกษา
3. ผลการดำเนินการ
ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย-ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ
และ/หรือคุณภาพ
ด้านปริมาณ
- ครูและบุคลากรร้อยละ 95 มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ด้านคุณภาพ
- ครูมีความรู้และสามารถพัฒนาทักษะการประเมินตนเอง
และการร่วมมือแบบรวมพลังของครูทุกคนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ได้
- ครูสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ
O-NET ของนักเรียนโรงเรียนเสนานิคมให้สูงขึ้นได้จริง
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อโรงเรียนอย่างไร
- โรงเรียนมีผลการประเมิน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสังกัด 2 วิชาและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ 3 วิชา และสูงกว่าปีการศึกษา 2560
ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ปีการศึกษา 2561
วิชา |
โรงเรียนเสนานิคม |
ระดับสังกัดสำนักการศึกษา |
ระดับประเทศ |
ผลการเปรียบเทียบระหว่าง รร.เสนานิคม กับระดับ |
|
สังกัดสำนักการศึกษา |
ประเทศ |
||||
ภาษาไทย |
56.95 |
57.71 |
55.90 |
-0.76 |
+1.05 |
คณิตศาสตร์ |
35.37 |
37.43 |
37.50 |
-2.06 |
-2.13 |
วิทยาศาสตร์ |
45.71 |
40.17 |
39.93 |
+5.54 |
+5.78 |
ภาษาอังกฤษ |
44.92 |
41.11 |
39.24 |
+3.81 |
+5.68 |
วิชา |
โรงเรียนเสนานิคม |
ระดับสังกัดสำนักการศึกษา |
ระดับประเทศ |
ผลการเปรียบเทียบระหว่าง รร.เสนานิคมกับระดับ |
|
สังกัดสำนักการศึกษา |
ประเทศ |
||||
ภาษาไทย |
55.72 |
52.37 |
54.42 |
+ 3.35 |
+ 1.30 |
คณิตศาสตร์ |
28.53 |
26.45 |
30.04 |
+ 2.08 |
-1.51 |
วิทยาศาสตร์ |
36.17 |
33.54 |
36.10 |
+ 2.63 |
+ 0.07 |
ภาษาอังกฤษ |
29.13 |
26.76 |
29.45 |
+ 2.37 |
-0.32 |
-
4. บทเรียนที่ได้รับ
1. ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2.
ครูสามารถพัฒนาทักษะการประเมินตนเอง
และการร่วมมือแบบรวมพลังของครูทุกคนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
3.
ครูสามารถปรับกระบวนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
และมีความเข้มแข็งในการพัฒนาการวิชาชีพของตนเอง
5.
ปัจจัยความสำเร็จ
การทำงานที่เป็นระบบและความทุ่มเทเอาใจใส่ของคณะครู
ผู้ปกครอง นักเรียน
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
การเผยแพร่ : โรงเรียนได้ดำเนินการเผยแพร่ทั้งในโรงเรียน
โดยแจ้งให้คณะครูและนักเรียนทราบตอนทำกิจกรรมหน้าเสาธง
และเผยแพร่นอกโรงเรียนโดยการแจ้งให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานรับทราบโดยการประชุม
ตลอดจนการเผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือ Facebook
ของโรงเรียน
การได้รับการยอมรับ : คณะครู
ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาตลอดจนชุมชนมี ความพึงพอใจต่อการดำเนินการโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ซึ่งช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET
) ได้เป็นอย่างดี และเห็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้จริง