จากปัญหาข้างต้น
จึงมีแนวทางกระบวนการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมโดยใช้หลักการ กระบวนการ ตามแนวทาง การเรียนรู้
Active Learning 5 ขั้นตอน” เป็นการใช้ความรู้
ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องด้านการอ่านและการเขียนโดยครูจัดกระบวนการเรียนการสอน Active
Learning โดยใช้กิจกรรมการฝึกฝน 5 ขั้นตอน
ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องใช้ กลวิธีและเทคนิคในการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้น
ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสอนตามหลักการ Active
Learning การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้
ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ
สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมอภิปราย
ฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70% การนำเสนองานทางวิชาการ
เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับ สถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90% เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการ
เรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนเองถนัด รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ
ที่ตนเองไม่ถนัดด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยอาจเริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้ววางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสร้างโอกาสให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
นวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่นำมาดำเนินการ จากแนวสภาพปัญหา หลักการ แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ การเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยการใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) “อ่านคล่อง เขียนคล่อง หมั่นฝึกฝน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน” นวัตกรรมนี้ใช้กระบวนการดำเนินงานวงจรบริหารที่มีคุณภาพ PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ย่อมาจาก 4 คำ ได้แก่Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้เหมาะสม)
ขั้นตอนมีดังนี้
1. P = Plan ( ขั้นตอนการวางแผน ) ขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ซึ่งรวมถึงการ พัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
2. D = Do ขั้นตอนการปฏิบัติ( ขั้นตอนการปฏิบัติ) ขั้นตอนการปฏิบัติคือ
การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่
เพื่อทำการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้
3. C = Check ( ขั้นตอนการตรวจสอบ ) ขั้นตอนการตรวจสอบ
คือ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทราบว่า ในขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้างและบ่อยครั้งแค่ไหน
เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนถัดไป
4. A = Action ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ
คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผน ที่วางไว้หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หากเป็นกรณีแรก
ก็ให้นำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำให้ เป็นมาตรฐาน
พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็ว
กว่าเดิม
กระบวนการจัดการเรียนการสอนหรือวิธีการสอนเราจะใช้รูปแบบ
Active Learning เป็น กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่
หลากหลายรูปแบบ รูปแบบการสอนนี้เราจะใช้ขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน
1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
3. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป
4. ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ
5. ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้
ซึ่งกระบวนการดำเนินงานวงจรบริหารที่มีคุณภาพ
PDCA และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
Active Learning 5 ขั้นตอนนี้
จะเป็นนวัตกรรมนี้จะใช้แนวทางการขับเคลื่อนตามหลักการ เข้ามาพัฒนาด้าน การอ่านการเขียนของนักเรียน
ให้บรรลุวัตถุประสงค์
จุดประสงค์ เป้าหมายและขอบเขตของการดำเนินงาน วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6
2. เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6
3. เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีในด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 จำนวน 38 คน
สามารถพัฒนาด้านการอ่านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 จำนวน 38 คน สามารถพัฒนาด้านการเขียนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 80
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 จำนวน 38 คน ที่มีเจตคติที่ดีในการอ่านและการเขียนเพิ่มขึ้นร้อยละ
80 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. ร้อยละ 80 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 38 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านที่สูงขึ้น
2. ร้อยละ 80 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 38 คน
มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนที่สูงขึ้น
3. ร้อยละ 80 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 38 คน มีเจตคติที่ดีในด้านการอ่านและการเขียน
ที่สูงขึ้น
ขอบเขตในการดำเนินงาน
1. กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนโรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 38 คน
2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
- การพัฒนาการอ่านโดยใช้กิจกรรม4
กลุ่ม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน
- การพัฒนาการเขียนโดยใช้กิจกรรม
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน
- สร้างเจตคติที่ดีโดยใช้กิจกรรม
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน
3. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ปีการศึกษา 2564
กระบวนการดำเนินงาน ใช้กระบวนการเรียนรู้
Active Learning 5 ขั้นตอน”
โดยใช้กระบวนการดำเนินงานวงจรบริหารที่มี คุณภาพ PDCA ดังนี้
1. ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการวางแผนที่จะพัฒนากิจกรรมการฝึกฝนโดยใช้กระบวนการ
Active Learning 5 ขั้นตอน” มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ผลสัมฤทธิ์การประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน
ปีการศึกษา 2563
1.2. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษามาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัด
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
Active Learning 5 ขั้นตอน”
2. ขั้นดำเนินการตามแผน (DO) ขั้นตอนนี้
เป็นขั้นตอนศึกษาผู้เรียนรายบุคคล ค้นพบปัญหาและความ ต้องการของนักเรียน ขั้นนี้เป็นขั้นตอนการจำลองสถานการณ์ให้การอ่านไม่ออก
เขียนไม่คล่อง โดยแบ่งได้ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
2.1. ขั้นตอนการคัดกรอง
เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการทดสอบโดยใช้เครื่องมือการประเมินเพื่อคัด กรองนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์
มีจำนวน 4 ชุด ถ้าผลการทดสอบมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ตั้งแต่
2 ชุด ขึ้นไป ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์
2.2. วินิจฉัยปัญหา
ขั้นตอนนี้จะเป็นการค้นหาสาเหตุการอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง จากการวินิจฉัยปัญหาด้านการอ่านจึงทำให้คุณครูเข้าใจความแตกต่างของนักเรียนแต่ละบุคคล
นักเรียน ที่มีปัญหาได้กำหนดสาเหตุของปัญหาไว้ 3 อันดับ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียนมากที่สุด ผลปรากฏว่า ปัญหาด้านการอ่าน
อันดับที่1 นักเขียนขาดความรู้และทักษะด้านการจำ สระพยัญชนะ
และการสะกดคำแจกลูก ปัญหาด้านการเขียน อันดับที่ 2 นักเรียนเขียนพยัญชนะ
สระและตัวสะกดและวรรณยุกต์ไม่ได้ ปัญหาด้านเจตคติ อันดับที่ 3 ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือในการฝึกนักเรียนทำการบ้าน
ฝึกฝนและพัฒนานักเรียนในด้านการอ่าน อย่างต่อเนื่องจากโรงเรียน จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้ครูหาวิธีการจัดการเรียนการสอนหรือรูปแบบการสอนที่
สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
2.3 จัดการเรียนการสอน ขั้นตอนนี้จะเป็นการดำเนินการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ
ตามขั้นตอน การฝึกฝนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน”
ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการสอนตามหลักการ Active Learningการให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหา
ความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ มีทั้งหมด 4 กิจกรรมใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning 5 ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
2.3.1 ชื่อกิจกรรมเสริมทักษะการอ่าน
กิจกรรมนี้เป็นการฝึกจดจำและฝึกอ่าน พยัญชนะ สระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์
กิจกรรมนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการอ่านและการเขียนที่จะทำให้รู้จักพยัญชนะ สระ
ต้องเริ่มให้ผู้เรียนหัดออกเสียงพยัญชนะให้ชัดเจนและจำพยัญชนะได้ทุกตัว
และเริ่มอ่านสระ และท่องจำรูปสระ ทบทวนพยัญชนะ และสระ จนสามารถจดจำสระและพยัญชนะได้ครบทุกตัว
เมื่อจำได้แล้ว ก็จะสามารถสอนอ่านได้
พอฝึกจดจำพยัญชนะและอ่านได้แล้วหลังจากนั้นจะเป็นการ ฝึกเขียนพยัญชนะโดยใช้แนวความรู้โดยการใช้สีเข้ามาช่วยในการจำของนักเรียนได้เพิ่มมากขึ้น
โดยกำหนดได้ดังนี้ สีดำ เป็นสีที่ใช้แทนพยัญชนะต้น สีแดง เป็นสีที่ใช้แทนสระ สีน้ำเงิน
เป็นสีที่ใช้แทนตัวสะกด สีเขียว เป็นสีที่ใช้แทนวรรณยุกต์
3. สรุปผลและติดตาม (Check) การสรุปผลการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้ โดยเราจะใช้ชุดการทดสอบแบบคัดกรองการอ่านการเขียน
ผลปรากฏว่าจากการดำเนินงานนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6 เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 ใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning 5 ขั้นตอน”
ประสบผลสำเร็จและนักเรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นในการเรียน การสอนในทุกรายวิชา
สำรวจได้จาก แบบประเมินความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4. ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม (Action) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถอ่านออกและเขียนได้ พร้อมมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมดำเนินงาน เมื่อจัดกระบวนการเสร็จสิ้นนักเรียนมีความกล้าแสดงออกและมั่นใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น
โดยมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในแต่ละกิจกรรมที่คุณครูได้ให้นักเรียนทำและฝึกความกล้าแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ
1. ผลที่เกิดกับโรงเรียน คือ
โรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ) มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 สูงขึ้นและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80
2. ผลที่เกิดกับครู คือ จากการทำนวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice) “อ่านคล่อง เขียนคล่อง หมั่นฝึกฝน” ผูกด้วยกิจกรรมการฝึกฝนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ Active
Learning 5 ขั้นตอน เป็น นวัตกรรมที่ครูสามารถนำมาใช้จัดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 สามารถนำไปแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้ในโรงเรียนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนในแต่ละวิชาเพิ่มสูงขึ้น
3. ผลที่เกิดกับนักเรียน คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียน
อยู่ในระดับที่ดีขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเป็นที่น่าพอใจของผู้บริหาร
คณะครูและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก รวมไปถึงผู้เรียนมีความสุขในการเรียนในทุกๆรายวิชา
ปัจจัยความสำเร็จ จากการดำเนินงานพัฒนาการอ่านการเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 โรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศป โดยใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice) ชื่อ “อ่านคล่อง เขียนคล่อง หมั่นฝึกฝน” โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
Active Learning 5 ขั้นตอน” ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ
กิจกรรมที่
1 เสริมทักษะการอ่าน
กิจกรรมที่
2 แจกลูกผันคำ จดจำอ่านเขียน
กิจกรรมที่
3 ฝึกอ่านฝึกเขียน ร่ายเรียงประโยค โดยการบูรณาการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียน มีการปรึกษา
ประชุมและวางแผนการร่วมกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พัฒนาด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และ ยังมีการนิเทศติดตามเพื่อนำผลมาถอดบทเรียนและวางแผนร่วมกันในปีการศึกษาต่อไป
ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคเครือข่ายผู้ปกครอง
ผู้ปกครองมีการสนับสนุนและมีการเข้าร่วมประชุมวางแผนในการจัด กระบวนการเรียนการสอนที่แก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
มีการเข้าร่วมพูดคุยและหาแนวทางแก้ไข รวมไปถึงรับทราบแนวทางในการปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับคุณครูอย่างเต็ม
ทำให้การดำเนินงานการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง