3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการทำงาน
3.1
ประชุมคณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่านเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
3.2 กำหนดและมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
3.3 ดำเนินการจัดกิจกรรม
ดังนี้
3.3.1 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่อง
3.3.2 กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
3.3.4 กิจกรรมผลิตสื่อการอ่านการเขียน
3.4
ร่วมกับโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้๘กลุ่มสาระจัดกิจกรรมการอ่าน
3.5 ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง อ่านหนังสือกับลูก อ่านหนังสือให้ลูกฟัง บริจาคหนังสือหรือสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม
3.6 ดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงาน
3.7 ตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
3.8
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานผู้บริหาร
โครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน
มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดร้อยละ 85 เนื่องจากสถานศึกษามีการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากครู บุคลากร
นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน
คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านการอ่านของนักเรียน
ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ
วางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พัฒนานักเรียนให้มีทักษะด้านการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน
ติดต่อประสานงานกับชุมชนขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ กำกับติดตามการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงานเพื่อนำไปทบทวน
ปรับปรุงแก้ไข ในปีการศึกษาถัดไปนักเรียนมีทักษะด้านการอ่าน
และนิสัยรักการอ่าน คิดเป็นร้อยละ 85.36 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีผลการประเมินการอ่าน RT คิดเป็นร้อยละ 87.58