๑. จัดเตรียมแบบฝึกการอ่านเพื่อคัดกรองการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น
๒. ดำเนินการทดสอบการอ่านเพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านจากคุณครูประจำชั้น
๓. รวบรวมผลการคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านจากคุณครูประจำชั้น
๔. ประชุมครูเพื่อทำความเข้าใจการทำกิจกรรม
และแจ้งรายชื่อและจำนวนนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านให้ครูทุกคนทราบ
๕. จัดกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านให้แก่พ่อครู แม่ครู จำนวน ๘ กลุ่ม เท่า ๆ
กัน โดยพ่อครู แม่ครู ได้มาจากครูทุกคนในโรงเรียน จำนวน ๘ คน พ่อครู แม่ครู
แต่ละคนจะมีหน้าที่ในการสอนนักเรียนอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่กำหนด พ่อครู แม่ครู
แต่ละคนจะมีนักเรียนที่รับผิดชอบตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ประมาณ ๔ – ๖ คน โดยนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านแต่ละชั้นจะมีครูประจำชั้นเป็นพ่อครูแม่ครู
ชั้นละ ๑ คน
สำหรับระดับชั้นที่มีนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านเป็นจำนวนมาก ก็จะมีครูพิเศษ จำนวน ๒ คน เป็นพ่อครู แม่ครู ในระดับชั้นนั้นเพิ่มเติม
๖. กำหนดวัน
เวลา เพื่อให้นักเรียนได้พบพ่อครู แม่ครู
๗. จัดทำและเตรียมเอกสารต่าง ๆ เช่น แบบฝึกการอ่านเพื่อใช้สำหรับสอนอ่าน แบบบันทึกการอ่าน
และแบบบันทึกเวลาเรียน ให้แก่พ่อครู แม่ครู
๘. จัดทำหนังสือถึงผู้ปกครองเพื่อขอความร่วมมือในการให้นักเรียนฝึกอ่านหนังสือกับพ่อครู
แม่ครูในช่วงเช้า พักกลางวัน และหลังเลิกเรียน
๙. รวบรวมผลการฝึกอ่านและบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกอ่านของนักเรียนจากพ่อครู
แม่ครู เพื่อนำ
ข้อมูลเสนอต่อผู้บริหารเป็นประจำทุกเดือน
๑๐. ประชุมพ่อครู
แม่ครู เพื่อร่วมกันคัดเลือกนักเรียนที่มีพัฒนาการทางการอ่าน และนักเรียนที่ฝึกอ่านกับพ่อครู แม่ครูอย่างสม่ำเสมอเพื่อรับมอบเกียรติบัตรจากผู้บริหารเมื่อสิ้นปีการศึกษาเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักเรียน
นักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านทุกคนได้รับการช่วยเหลือการแก้ปัญหาการอ่านจากพ่อครู แม่ครู ทำให้นักเรียนมีสภาพทางการอ่านสูงขึ้น ส่งผลให้ผลการทดสอบระดับชาติในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ (RT) และผลการทดสอบระดับชาติ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT) มีการพัฒนาขึ้นทุกปี