สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การบริหารจัดการเรียนร่วม
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
กระบวนการพัฒนา

1.    1.  ผู้บริหารประชุมครู เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงานราชการ โครงการที่จะดำเนินการในปีการศึกษา 2562

2.     2. หัวหน้าโครงการทบทวนผลการดำเนินโครงการปีการศึกษา 2561 นำผลสำเร็จและข้อควรปรับปรุง ข้อมูลของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและข้อมูลครูในโครงการ มาวางแผนงานการดำเนินการปีการศึกษา 2562

3.     3. หัวหน้าโครงการนำแผนงานของโครงการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารและครูบุคลากร เพื่อชี้แจง      การดำเนินการ การมีส่วนรวม ความรับผิดชอบในโครงการ พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

4.     4. หัวหน้าโครงการจัดทำโครงการ แต่งตั้งคณะครูและบุคลากรทุกคนเป็นกรรมการ เสนอต่อผู้บริหาร เมื่ออนุมัติก็ดำเนินการตามแผนงาน

5.     5. หัวหน้าโครงการและกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลและงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาพิเศษให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนร่วมกับนักเรียนปกติได้

6.    6.  ประสานความร่วมมือกับครูแนะแนว ครูประจำชั้น ในการคัดกรอง คัดแยกนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทุกคน เพื่อดูแลสุขภาวะทางใจและส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพทางร่างกายและสุขภาพจิต

7.    7.  จากข้อ 6 ถ้าพบว่านักเรียนมีความเสี่ยงในการเป็นนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ก็จะประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและหน่วยงานทางการแพทย์ตามสิทธิการรักษาเข้ารับประเมินทางจิตวิทยา เพื่อรับการรักษาและขอใบรับรองทางการแพทย์ เพื่อเข้าโครงการการศึกษาพิเศษ

8.   8.   ในช่วงเดือนมิถุนายน นักพัฒนาการจากสถาบันราชานุกูลประจำศูนย์สาธารณสุขที่ 30 วัดเจ้าอาม จะมาทำการประเมินพัฒนาการให้เด็กอนุบาลปีที่ 1 – 2 เพื่อเป็นข้อมูลให้ครูประจำชั้นและผู้ปกครองเสริมพัฒนาการให้กับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า

9.     9. ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน นักศึกษาปริญญาโท นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ในสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นของมหาวิทยาลัยมหิดล  ศิริราชพยาบาลและโรงพยาบาลรามาธิบดี จะมาทำโครงการสุขภาพจิตในโรงเรียนร่วมกับโครงการการศึกษาพิเศษของโรงเรียน ในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมการเรียนและสุขภาพจิต การปรับพฤติกรรมให้แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครอง ร่วมกับโครงการการศึกษาพิเศษของโรงเรียนในการประเมินทางจิตวิทยา การส่งต่อทางการแพทย์ การประชุมรายกรณี

10. 10. ครูประจำชั้นจัดทำรายงานผลการเรียนและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในปีการศึกษาหน้า หัวหน้าโครงการนำข้อมูลสรุปรายงานการดำเนินการของโครงการต่อผู้บริหาร

 


ผลจากการปฏิบัติ

1. จัดทำโครงการการศึกษาพิเศษที่มีแผนงานสามารถดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อดูแลนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (กลุ่มเดิมที่เรียนอยู่) ให้เรียนตามศักยภาพความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างเหมาะสมในปีการศึกษาใหม่

2.        2. สามารถส่งต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ทุกคน

     3. สามารถคัดกรอง คัดแยก และส่งต่อทางการแพทย์ นำนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่แฝงอยู่เข้ารับบริการในโครงการได้ร้อยละ 80ส่วนรายที่มีปัญหาไม่สามารถส่งต่อทางการแพทย์ได้ ก็ส่งต่อข้อมูลไปดำเนินการต่อในปีการศึกษาใหม่

      4. สามารถประสานความร่วมมือกับโครงการสุขภาพจิตของโรงเรียนของสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นของมหาวิทยาลัยมหิดล  ศิริราชพยาบาลและโรงพยาบาลรามาธิบดีดำเนินการดังนี้

-ดูแลรายกรณี 28 รายในด้านการปรับพฤติกรรม การส่งต่อทางการแพทย์

-จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง พ่อแม่ยุคใหม่ ส่งเสริมลูกให้มี EF แก่ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3

-จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง ครูยุคใหม่ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ แก่ครูและบุคลากรของโรงเรียน

-จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6

-จัดกิจกรรมปรับพฤติกรรมเรื่อง การลดพฤติกรรมการแกล้งกัน แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

     5.  นำผลงานของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษไปแสดงในงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายที่   57 สำนักงานเขตบางกอกน้อย และสาธิตการประดิษฐ์ทำดอกไม้ลูกปัด

6.  นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยธนบุรี มาศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาพิเศษ