1.บทนำ
กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ
O-NET) เป็นการทดสอบความรู้ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่
6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่
6 ทุกคน ทุกสังกัด ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทาง การศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินระดับชาติ การทดสอบนี้มีเป็นการวัดและประเมินผลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เรียกโดยย่อได้ว่า“ สทศ.” ใช้ ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า
“NATIONAL INSTITUTE OF EDUCATIONAL TESTING SERVICE” (PUBLIC
ORGANIZATION) เรียกโดยย่อ ได้ว่า “ NIETS ” จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด
มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
การจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
และการดำเนินกิจการความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบุคลากรการเงิน
การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ให้บรรลุตามวัตุถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา
วิจัยและให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษา และทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทาง
การศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ การสร้างระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพในโรงเรียน
นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดต่อ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย
ดังนั้น สามฝ่ายของบุคลกรในโรงเรียนซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน
และนักเรียน ต้องเกิดจากการมีทักษะ ความรู้ความสามารถและสามารถเลือกบทบาทที่เหมาะสมตามศักยภาพแต่ละบุคคลในการขับเคลื่อน
องค์การซึ่งหมายถึง “โรงเรียน”ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น
(สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2554) การบริหารจัดการในเชิงวิชาการภายในโรงเรียนย่อมเป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและ
พัฒนาให้นักเรียนในโรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
จนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ได้ในที่สุดอย่างแน่นอน
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือO-NET)
นั้นมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์สอดคล้องกับ
Anderson และ Krathwohl (2001) ที่ได้กล่าวว่า
วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการศึกษาในหลายสาขาวิชาทั้งสาขาวิทยาศาสตร์
มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะต่างมีความต้องการ “การเรียนรู้สู่การวิเคราะห์”
เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนแต่ละโรงเรียน
และเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ผล O-NET ดังกล่าวถือเป็น กระจกเงาที่ดีที่จะได้นำไปปรับปรุงให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน นอกจากนี้ผลคะแนนสอบที่นักเรียนได้รับ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเรียนเอง
เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป ส่วนผู้ปกครองก็จะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไข
และสนับสนุนบุตรหลานให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี
และทางโรงเรียนยังสามารถนำผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน
และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องต่อความสนใจ ความต้องการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไปในอนาคต
สภาพทั่วไป
ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศ เรื่อง
การใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
ในสัดส่วน 80 : 20 และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556
ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
ในสัดส่วน 70 : 30 ในปีการศึกษา 2557 และให้ใช้สัดส่วน
50 : 50 ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป
รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการล่าสุด ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม
2559 เรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET)
เป็น 70 : 30
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษา
อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผู้เรียนตลอดจนนำไปสู่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2560 ทดสอบ
4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
ปีการศึกษา 2560 มีนักเรียนทั้งหมด 4,271 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าสอบมีจำนวน 681 คน
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ
ดังตาราง
ตารางที่ 1 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
( O-NET )
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2560
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
53.69 |
46.58 |
7.11 |
คณิตศาสตร์ |
49.00 |
37.12 |
11.88 |
วิทยาศาสตร์ |
44.93 |
39.12 |
5.81 |
ภาษาอังกฤษ |
50.13 |
36.34 |
13.79 |
ในปีการศึกษา 2560
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50 คะแนน 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้
100 คะแนน 10 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้
100 คะแนน 3 คน
จากการประเมินโรงเรียนของคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีข้อเสนอแนะในการประเมิน พบว่ามาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา
สถานศึกษาควรมีการร่วมมือในการวางแผนและดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มภาษาต่างประเทศให้สูงขึ้นโดยการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่องและจริงจัง
มีความเป็นระบบที่ชัดเจน ควรมีการวิเคราะห์จัดกลุ่มผู้เรียนให้ชัดเจนเพื่อให้มีการสอนเสริมให้ครอบคลุมและต่อเนื่องในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับพอใช้
เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ 0-net
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
( O-NET )และการประเมินคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
เห็นความสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET จึงจัดทำ Best
Practices โดยใช้หลัก วงจรเดมมิ่ง
PDCA
(Deming Cycle) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
หรือ O-NET ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
เตรียมความพร้อม
และสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนในการสอบ
ลักษะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
สถานศึกษาในระบบการทำงานโดยใช้หลัก
วงจรเดมมิ่ง
PDCA
(Deming Cycle) โดย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น
ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น
ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงกว่าระดับประเทศ
3. เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการทดสอบที่เน้นทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง และสร้างความคุ้นเคยในการทดสอบ
4. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนได้รับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากทดสอบระดับชาติ โดยใช้หลัก วงจรเดมมิ่ง
PDCA
(Deming Cycle) ร้อยละ 100
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากทดสอบระดับชาติเพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
และการศึกษาต่อมากขึ้น
2. นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น มีผลการทดสอบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ดำเนินการ
2 ระยะ
ระยะที่
1 คือ ดำเนินการพัฒนาเพื่อต่อยอด
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan)
1.1 ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่1-5 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมาย
นักเรียนในการส่งเสริมพัฒนาทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
โดยในแต่ละชั้น นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ความสามารถในการอ่านออกของผู้เรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
กำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ 70 ได้ระดับ
3 ขึ้นไป
1.2
ประชุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -5 เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
1.3
ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
กำหนดระยะเวลาพัฒนานักเรียน 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มแข็ง สอนตามปกติ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์
และทักษะ กระบวนการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระยะที่
2 กิจกรรมเสริมวิชาการให้เข้มข้น
ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ ดำเนินการสอนซ่อมเสริม
ทดสอบความรู้หลังจากการสอนซ่อมเสริมและแจ้งผลให้
ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
1.5 รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น
3 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
และคิดวิเคราะห์ไม่เป็น กลุ่มอ่านไม่คล่อง
เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง
คิดวิเคราะห์เป็น
1.6 ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ทฤษฎีการสอนของกาเย่
ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหา
จากง่ายไปหายาก
- แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน
ผู้เรียนจะสามารถเรียนเนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ
ได้ โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน
- ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ บุคคลเรียนรู้ด้วยการกระทำ
โดยมีตัวเสริมแรงเป็นตัวการ
- ทฤษฎีลองผิดลองถูกของธอร์นไดด์
สรุปเกณฑ์การเรียนรู้คือ
กฎความพร้อม หมายถึง
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ
กฎผลที่ได้รับ
หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้น
เพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมาก
ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย
1.7 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม ที่ใช้ในการสอนและการออกข้อสอบในแต่ละระดับชั้น
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามแผน
(Do)
2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้
2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้
2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8
กลุ่มสาระการเรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ
แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี
สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก
(สอดคล้องกับทฤษฎีการสอนของกาเย่)
โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้
1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน
และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
2.
เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ เครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
3.
จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาสื่อ นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
4.
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง
โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น(สอดคล้องกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์)
5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ
เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป
2.2.2 กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง
1. ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
โดยใช้ข้อสอบที่ครูร่วมกันจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อสอบ
ในปีก่อนและออกข้อสอบคู่ขนานกับแนวการออกข้อสอบในปีที่สอบ
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว
เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมสอนซ่อมเสริม
กิจกรรมติวเตอร์
กิจกรรมท่องคำศัพท์
กิจกรรมท่องอาขยาน
กิจกรรมท่องสูตรคูณ
กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ กิจกรรมเขียนเรียงความ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ
บ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ (สอดคล้องกับกฎผลที่ได้รับของธอร์นไดด์)
3. ทดสอบความรู้หลังการสอนซ่อมเสริมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
4. นำผลคะแนน
มาวิเคราะห์และเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย และแนะนำประสบการณ์ในการสอบ แก่นักเรียน
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบ (Check)
3.1 ผู้บริหารนิเทศ กำกับ
ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3.2 ให้ครูชั้นรายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน
3.3 สำรวจความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง
และนักเรียน
ขั้นที่ 4 การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
4.1 ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนละชั้น ให้ผู้บริหารทราบ
4.2 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ต่อไป
ระยะที่
2 คือ เติมเต็มต่อยอด
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan)
1.4 ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
และสร้างความ
ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.5
ประชุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของการสอบ
O-NET
1.6
ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกัน
กำหนดระยะเวลาพัฒนานักเรียน 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มแข็ง สอนตามปกติ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์
และทักษะ กระบวนการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระยะที่
2 กิจกรรมเสริมวิชาการให้เข้มข้น
ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ ดำเนินการสอนซ่อมเสริมในช่วงเช้า
ของภาคเรียนที่ 2 ทดสอบความรู้หลังจากการสอนซ่อมเสริมและแจ้งผลให้
ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
1.5 รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น
3 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
และคิดวิเคราะห์ไม่เป็น กลุ่มอ่านไม่คล่อง
เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง
คิดวิเคราะห์เป็น
1.6 ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
- ทฤษฎีการสอนของกาเย่
ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหา
จากง่ายไปหายาก
- แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน
ผู้เรียนจะสามารถเรียนเนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ
ได้ โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน
- ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ บุคคลเรียนรู้ด้วยการกระทำ
โดยมีตัวเสริมแรงเป็นตัวการ
- ทฤษฎีลองผิดลองถูกของธอร์นไดด์ สรุปเกณฑ์การเรียนรู้คือ
กฎความพร้อม หมายถึง
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ
กฎผลที่ได้รับ
หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้น
เพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมาก
ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย
1.7 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม ที่ใช้ในการสอนและการออกข้อสอบ
ก่อนเรียนเสริม O-NET
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามแผน
(Do)
2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้
2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้
2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8
กลุ่มสาระการเรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ
แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี
สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก
(สอดคล้องกับทฤษฎีการสอนของกาเย่)
โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้
1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน
และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
2.
เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ เครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
3. จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
และจัดหาสื่อ นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
4.
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง
โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น(สอดคล้องกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์)
5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ
เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป
2.2.2 กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง
1. ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
โดยใช้ข้อสอบที่ครูร่วมกันจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อสอบ
O-NET
ในปีก่อนและออกข้อสอบคู่ขนานกับแนวการออกข้อสอบในปีที่สอบ
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว
เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมสอนซ่อมเสริม
กิจกรรมติวเตอร์
กิจกรรมท่องคำศัพท์
กิจกรรมท่องอาขยาน
กิจกรรมท่องสูตรคูณ
กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ
กิจกรรมเขียนเรียงความ เป็นต้น
ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ บ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ
(สอดคล้องกับกฎผลที่ได้รับของธอร์นไดด์)
ดำเนินการสอนซ่อมเสริมในช่วงเช้า
เวลา 07.20 - 08.20 น. ภาคเรียนที่ 2
วันอาทิตย์เวลา 08.-30 - 14.30 น.
ภาคเรียนที่ 2
3. ทดสอบความรู้หลังการสอนซ่อมเสริมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง โดยใช้ข้อสอบ
Pre O-NET ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
4. นำผลคะแนน Pre O-NET ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร มาวิเคราะห์และเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย
และแนะนำประสบการณ์ในการสอบแก่นักเรียน
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบ (Check)
3.1 ผู้บริหารนิเทศ กำกับ
ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3.2 ให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน
3.3 สำรวจความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง
และนักเรียน
ขั้นที่ 4 การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
4.2 ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ผู้บริหารทราบ
4.2 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ต่อไป
ผลลัพธ์/ผลการดำเนินการ
จากการจัดทำ Best Practices โดยใช้หลักวงจรเดมมิ่ง PDCA (Deming Cycle) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น
ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น
ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงกว่าระดับประเทศ
3. เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการทดสอบที่เน้นทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง และสร้างความคุ้นเคยในการทดสอบ
4. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
จากการดำเนินกิจกรรม
พบว่านักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง
และได้ฝึกในการทำแบบทดสอบ
ตระหนักถึงความสำคัญ รู้ถึงประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)โดย จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ
ดังตาราง
ตารางที่ 2 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา
2561
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
63.14 |
55.90 |
7.24 |
คณิตศาสตร์ |
52.21 |
37.50 |
14.71 |
วิทยาศาสตร์ |
45.40 |
39.39 |
6.01 |
ภาษาอังกฤษ |
53.28 |
39.24 |
14.04 |
ในปีการศึกษา
2561 คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50 คะแนน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 40 คน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 16 คน
นักเรียนได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ
จำนวน 3 คน
เมื่อนำผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาเปรียบเทียบในปี 2560 กับ 2561ปรากฏ ดังตาราง
ตารางที่ 3 ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาเปรียบเทียบกันในปี 2560 กับ 2561
|
ปีการศึกษา 2560 |
ปีการศึกษา 2561 |
||||
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
53.69 |
46.58 |
7.11 |
63.14 |
55.90 |
7.24 |
คณิตศาสตร์ |
49.00 |
37.12 |
11.88 |
52.21 |
37.50 |
14.71 |
วิทยาศาสตร์ |
44.93 |
39.12 |
5.81 |
45.40 |
39.39 |
6.01 |
ภาษาอังกฤษ |
50.13 |
36.34 |
13.79 |
53.28 |
39.24 |
14.04 |
จากตารางพบว่าในปีการศึกษา 2561
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้นจากปีการศึกษา
2560