สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนารากฐานการอ่านสู่ความเป็นเลิศ
โรงเรียนวัดกำแพง
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต

ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๕-๒๕๕๗ พบว่า  มีผู้เรียนที่มี

ปัญหาการอ่านไม่ออก-ไม่คล่อง จำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ มีผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ต่ำกว่า ระดับประเทศ จากผลการประเมินดังกล่าว โรงเรียนจึงมีกระบวนการและนโยบายด้านการอ่าน โดยผู้บริหารกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาด้านการอ่าน ให้จัดครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วยสอนแก้ปัญหาการอ่านของผู้เรียน และเมื่อประเมินผลการอ่านยังต่ำ ไม่เป็นที่น่าพอใจ ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ผู้บริหารได้มีนโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่าน โดยการให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขและพัฒนาการอ่านของผู้เรียนที่อ่านไม่ออก ไม่คล่อง โดยการแบ่งผู้เรียนที่มีปัญหาดังกล่าวให้ครูทุกคนรับผิดชอบสอนอ่านตามความเหมาะสม ซึ่งให้ครูจัดหาสื่อการสอนและออกแบบทดสอบการอ่านเอง ส่งผลให้ผลการทดสอบระดับชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ แต่ผลการพัฒนาการอ่านยังไม่เป็นที่น่าพอใจ  ยังมีผู้เรียนบางส่วนที่ยังมีปัญหาด้านการอ่าน ต่อมาโรงเรียนมีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพด้านการอ่านและการเขียนเพิ่มมากขึ้นโดยการสร้างเครื่องมือการประเมินการอ่านตามมาตรฐานของโรงเรียนที่ครอบคลุมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและครอบคลุมทุกระดับชั้น โดยนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน               ทุกระดับชั้นและรายงานผลทุกเดือน เพื่อนำผลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาและยกระดับการอ่านอย่างยั่งยืนต่อไป

          ทั้งนี้ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ จึงปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้านการพัฒนาการอ่านในรูปแบบของออนไลน์

 

สภาพทั่วไป

โรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนขนาดกลาง  จัดการศึกษา

ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีผู้เรียนรวมผู้เรียนการศึกษาพิเศษจำนวน  823 คน (ในปีการศึกษา ๒๕๖๔) มีผู้บริหารจำนวน ๓ คน ครู จำนวน 42 คน เจ้าหน้าที่และบุคลากรอื่น ๆ จำนวน 8 คน จากสภาพทั่วไปดังกล่าวซึ่งผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมที่พัฒนาการอ่านที่เหมาะสมในภาพรวม ผู้เรียนขาดความสนใจ  โดยประเมินจากการสังเกตการร่วมกิจกรรมการอ่าน การเขียนในโรงเรียน


ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา FIOW Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากแผนภูมิข้างต้นมีวิธีการดำเนินงานดังนี้

๑. ศึกษาวิเคราะห์ SWOT และทำ TOWS Matrix ด้านการอ่านผู้เรียนโรงเรียนวัดกำแพง

          ๒. ประเมินสภาพการอ่านของผู้เรียนทุกระดับชั้น วิเคราะห์และคัดกรองการอ่านของผู้เรียน

แบ่งเป็นกลุ่ม อ่านไม่ออก กลุ่มอ่านไม่คล่อง และกลุ่มอ่านคล่อง  ผ่านระบบออนไลน์

๓. ประชุมครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน เพื่อหาแนวทางและกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาการอ่าน

ตลอดจนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยแบ่งผู้เรียนที่มีปัญหาการอ่านให้ครูทุกคนรับผิดชอบสอนอ่าน พร้อมทั้งมีการรายงานผลอย่างเป็นระบบ

๔. คณะครูร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสื่อนวัตกรรมหนังสือเล่มเล็กคำพื้นฐานระดับชั้นเรียน

เพื่อนำมาให้ครูและผู้ปกครองใช้สอนและทบทวนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านให้กับผู้เรียนตลอดจนให้ผู้เรียนฝึกอ่านอย่างสม่ำเสมอ

๕. ประชุมผู้ปกครองของผู้เรียนที่มีปัญหาการอ่านผ่านระบบออนไลน์สายชั้น ห้องเรียน ชี้แจง อภิปราย กำหนดนโยบายในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการอ่าน โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการอ่าน โดยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือให้ผู้ปกครองฟัง แล้วบันทึกคำที่อ่านไม่ได้ ลงในสมุดบันทึก และนำมาฝึกอ่านกับครูผู้รับผิดชอบเพื่อฝึกอ่านคำหรือข้อความนั้น ๆ ให้ถูกต้อง ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวดำเนินการผ่านช่องทางไลน์ เฟชบุ๊ค หรือห้องสนทนาต่าง ๆ ที่ครูกำหนดขึ้นในแต่ละระดับชั้น

๖. โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของผู้เรียนอย่างชัดเจน โดยจัดให้ผู้เรียนอ่านหนังสือ

คำพื้นฐานในแต่ละระดับชั้นและบันทึกคลิปผลงานนำเสนอต่อครูผู้สอนเพื่อร่วมกันประเมินและหาแนวทางพัฒนาต่อวไป

๗. โรงเรียนสร้างแบบฝึกเพื่อใช้ประเมินการอ่านของผู้เรียนทุกระดับชั้นเรียนทุกเดือน นำมาทดสอบและ

รายงานผลทุกเดือนอย่างเป็นระบบเพื่อนำผลมาพัฒนาต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

๓.๑ โรงเรียนมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ (Reading Test :

RT) สูงกว่าหน่วยงานต้นสังกัดและระดับประเทศ

๓.๒ โรงเรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (National

Test : NT) สูงกว่าหน่วยงานต้นสังกัดและระดับประเทศทุกด้าน

๓.๓ โรงเรียนมีผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (Ordinary

National Educational Test  : O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ

 

 

๓.๔ นำแนวทางการพัฒนาการอ่านภาษาไทยถอดบทเรียนไปใช้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษส่งผลให้ กลุ่ม

สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีผลการประเมินการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (Ordinary National Educational Test  : O-NET)  สูงกว่าระดับประเทศ

๓.๕ ผู้เรียนทุกคนมีผลพัฒนาการอ่านดีขึ้น

 

๔. บทเรียนที่ได้รับ

กระบวนการพัฒนาการอ่านของโรงเรียนนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้

๕. ปัจจัยความสำเร็จ

๕.๑ ความร่วมมือของบุคลากรครู ผู้ปกครองและผู้เรียน

๕.๒ นโยบายด้านการบริหารจัดการ กระบวนการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

๕.๓ กระบวนการประเมินผลและนำมาใช้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจริง ๆ

๕.๔ มีรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยความจริงใจ

 

๖. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ และ/หรือรางวัลที่ได้รับ

๖.๑ โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมการอ่านดีเด่น         

๖.๒ เผยแพร่ผลงานการอ่านกับโรงเรียนที่มีความสนใจพัฒนาการอ่าน

         

            

 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]