ขั้นตอนและวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทั้งการบูรณาการภายในวิชาและบูรณาการระหว่างวิชา
มีหลักการเช่นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนและวิธีการ ดังตอ่ ไปนี้
1. การวางแผนและการประเมินผลการสอนแบบบูรณาการ
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์หลักสูตรและเลือกหัวเรื่อง (Theme) ดําเนินการ ดังนี้
- ระดมพลังสมองของครู
- กําหนดโครงการสอนให้สอดคล้องกับการดําเนินชีวิตประจําวัน
- ศึกษาเอกสารต่าง ๆ และกําหนดหัวข้อเรื่อง (Topic) ให้แคบลง
- หาความสัมพันธ์ของความรู้ในวิชาต่าง ๆ
ขั้นที่ 2 การพัฒนาหัวเรื่อง
- กําหนดเวลาในการสอนให้เหมาะสม โดยคํานึงถึงปฏิทินปฏิบัติงานของโรงเรียน
- กําหนดวัตถุประสงค์ โดยระบุความรู้ด้วยความสามารถที่ต้องการจะให้เกิดแก่ผู้เรียน
- สร้างวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง
- ให้ผู้เรียนคาดการณ์ถึงความสําเร็จขั้นต้น
ขั้นที่ 3 แหล่งข้อมูล
- กําหนดแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้
- อุปกรณ์ เทคโนโลยี ในการสืบค้นข้อมูล
- ผู้สอนจากแหล่งอื่น ๆ เช่น คลิปวิดีโอการสอน, คลังความรู้จากสถาบันพัฒนาคุณภาพ(พว.)ฯลฯ
- แหล่งข้อมูลท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น, แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ฯลฯ
ขั้นที่ 4 การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
- ออกแบบกิจกรรมบูรณาการข้ามกลุ่มสาระตามหลักสูตร
- ครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล (PLC)
เพื่อกําหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สร้างสื่อ และออกแบบเครื่องมือที่สอดคล้องกับ
การจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ผลการดําเนินงาน
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
2.ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ และพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการโมเดล
3. การวัดและประเมินผล ในแต่ละรายวิชาของหน่วยบูรณาการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก