สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET ป. 6 โดยใช้กระบวนการ PDCA
โรงเรียนกลางคลองสอง(พร ดีเจริญ)
กระบวนการพัฒนา

ใช้กระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)

          1. ขั้นวางแผน (Plan)  ประชุมครู  แต่งตั้งกรรมการดำเนินการ  คัดกรอกนักเรียนรายบุคคลจากผลการเรียน

             ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 และการสอบ Pre o-net จัดกลุ่มนักเรียน เก่ง กลาง อ่อน ในแต่ละวิชา

          2. ดำเนินการตามแผน (Do) วิเคราะห์หลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลการสอบ Pre o-net

             ตรวจสอบเนื้อหาสาระที่นักเรียนทำไม่ได้ นำมาออกแบบเครื่องมือ สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนา

             ดำเนินการจัดกิจกรรมตามเครื่องมือที่สร้างโดยเติมการสอนให้เข้มแข็ง (สอนซ่อม) เสริมวิชาการให้เข้มข้น

             (สอนเสริม)

3. การตรวจสอบ (Check) ตรวจสอบการเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นระยะเพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง

   วิธีการในเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  นิเทศ  กำกับ ติดตาม รายงานผลการดำเนินงานทุกสัปดาห์

4. การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)  สรุป รายงานผล ประเมินผลและนำผลการประเมินมาปรับปรุง

   พัฒนาต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

1. โรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ย  O-NET ป.6  ผ่านระดับสังกัด ระดับประเทศทุกวิชา

2. โรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ย   NT ป.3      มีความสามารถทั้ง 2 ด้าน ผ่านระดับสังกัด ระดับประเทศ

3. โรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ย   RT ป.1      รวม 2 ด้าน ผ่านระดับสังกัด ระดับประเทศ

จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ โรงเรียนมีนักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีทักษะการฟังและการสื่อสารที่ดี  สิ่งที่พึ่งระวังคือครูทุกคนต้องไม่ละทิ้งเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และบกพร่องในการฟังและสื่อสาร เพราะเด็กเหล่านี้นอกจากเรียนไม่ได้แล้วยังเป็นปัญหาของชั้นเรียน  โรงเรียนใช้กระบวนการ PDCA เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางเรียนรู้ O-NET ป.6 ว่าสำเร็จหรือไม่อย่างไร  ถ้าพบว่าทำไปแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จะนำมาประชุมวางแผน นำไปปฏิบัติ และตรวจสอบใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้แล้วโรงเรียนได้นำกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม  PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้มาใช้ในการทำงานของครู โดยครูผู้สอนจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลปัญหา อุปสรรค ในการทำงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน นำวิธีการข้อเสนอแนะที่ได้ไปปฏิบัติ นำผลที่ได้จากการปฏิบัติมาสะท้อนในกลุ่ม กระบวนการ PLC ทำให้ครูไม่โดดเดี่ยวในการทำงาน จนทำให้ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมาย

ที่กำหนดไว้


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]