1. ชุมชนลำสาลี เป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน โดยมี ถนนกรุงเทพกรีฑา กั้นกลาง
สภาพบ้านเรือนเป็นบ้านไม้แบบชนบทบริเวณของบ้านมีคลองลำสาลีอยู่ด้านข้าง การเดินทางมาโรงเรียนใช้ทางเดินคอนกรีต กว้างประมาณ 1.2-1.5 เมตร เดินเรียบริมคลองลำสาลี มีถนนที่รถยนต์สามารถแล่นเข้าไปได้ โดยเข้าทาง ซอยโรงเรียนทับแก้ว สภาพชุมชนประกอบด้วยผู้คนสองกลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 คือคนท้องถิ่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม พักอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มา
นาน มีทั้งฐานะดี ฐานะปานกลาง และฐานะยากจน มีบ้านเรือนเป็นของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งบุตรหลานมา เข้าเรียนโรงเรียนนี้
- กลุ่มที่ 2 คือผู้มาอาศัยเช่าบ้านอยู่ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากต่างจังหวัดมาทำงาน นับถือศาสนา
อิสลาม และศาสนาพุทธ มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวค่อนข้างไปทางยากจน รายได้น้อยและไม่มีความแน่นอน โดยจะส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนที่โรงเรียนนี้และมีการอพยพย้ายถิ่นค่อนข้างบ่อย
นักเรียนโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) มาจากชุมชนนี้ประมาณร้อยละ 46 ของนักเรียนทั้งหมด
2. ชุมชนลำสาลีพัฒนา เป็นชุมชนที่อยู่ด้านหลังและด้านข้างมัสยิดยามีอุ้ตมุตตะกีน และ บริเวณบ้านเอื้ออาทรหัวหมาก การเดินทางมาโรงเรียนใช้ทางเดินคอนกรีต กว้างประมาณ 1.2-1.5 เมตร เดินเรียบริมคลองลำสาลี มีถนนที่รถยนต์และจักรยานยนต์สามารถแล่นเข้าไปได้ โดยเข้าทาง ซอยกรุงเทพกรีฑา 7 แล้วเข้ามาทางโรงงานเย็บผ้าโอเรียลตอล สภาพชุมชนประกอบด้วยผู้คนสองกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือคนท้องถิ่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม พักอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มา
นาน มีทั้งฐานะดี ฐานะปานกลาง มีบ้านเรือนเป็นของตนเอง และมีฐานะยากจน จะเช่าพื้นที่ของมัสยิดเพื่อปลูกที่พักอาศัย โดยเก็บค่าเช่ารายปี ในราคาที่ถูกมาก
กลุ่มที่ 2 คือผู้มาอาศัยเช่าบ้านอยู่ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากต่างจังหวัดมาทำงาน นับถือศาสนา
อิสลาม และศาสนาพุทธ มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวค่อนข้างไปทางยากจน รายได้น้อยและไม่มีความแน่นอน โดยจะส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนที่โรงเรียนนี้และมีการอพยพย้ายถิ่นค่อนข้างบ่อย
นักเรียนโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) มาจากชุมชนนี้ประมาณร้อยละ 54 ของนักเรียนทั้งหมด